กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมเด็กและเยาวชน “ค่ายร่วมใจกันทำดีเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนตำบลบาเจาะ”
รหัสโครงการ 66-L4127-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเยาวชนสานใจรักสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอมิง มะระนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮัมหมัดมูซอ กัรแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน
85.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
75.00
3 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
85.00
4 ร้อยละของเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่
75.00
5 ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
85.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี
65.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่มุ่งเน้นการส่งเสริม การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งในองค์กรเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ การเปลี่ยนแปลงตามกระแสการพัฒนาของโลก ที่เน้นด้านเศรษฐกิจ วัตถุนิยม และบริโภคนิยมในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนไทย ทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และสังคมโดยรอบ ทั้งนี้ การพัฒนาประเทศที่เน้นการเจริญเติบโตดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อปัญหาความไม่เป็นธรรมและ ความเสมอภาคทางสังคม การพัฒนาที่ไม่สมดุล ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัวเมือง ขาดจิตสำนึกรักท้องถิ่นสภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว กดดัน ต้องให้พ่อ/แม่ ทำงานหนัก ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก หรือเลี้ยงดูในแบบ ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กและเยาวชน การปรับตัวเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมประกอบกับสื่อที่มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางที่มิได้สำนึกถึงผลที่ตามมาจากการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ที่กระตุ้นยั่วยุ หรือส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นนักบริโภคแฟชั่น ก่อให้เกิดปัญหาเด็กติดเกมส์ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การเสพยาเสพติด การเล่นการพนัน ความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เป็นต้น ดังนั้นกลุ่มเยาวชนสานใจรักสุขภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงได้จัดทำโครงการกิจกรรมเด็กและเยาวชน “ค่ายร่วมใจกันทำดีเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนตำบลบาเจาะ” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

85.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

75.00 85.00
3 เพื่อลดปัญหา ประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ลดลง

85.00 90.00
4 เพื่อลดอัตราเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่

ร้อยละของเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ ลดลง

75.00 90.00
5 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

85.00 90.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

65.00 80.00
7 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ

ร้อยละของการได้รับความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ

80.00
8 เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

80.00
9 เพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชน ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว

ร้อยละของการสร้างแกนนำเด็กและเยาวชน ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว

85.00
10 เพื่อให้เด็กและเยาวชนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม

ร้อยละของเด็กและเยาวชนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม

85.00
11 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว

ร้อยละของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 แต่งตั้งคณะทำงานแกนนำเด็กและเยาวชน /จัดประชุมทุก 1-2 เดือน(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 2,580.00            
2 กิจกรรมค่ายเยาวชนฯ(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 37,420.00            
รวม 40,000.00
1 แต่งตั้งคณะทำงานแกนนำเด็กและเยาวชน /จัดประชุมทุก 1-2 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 2,580.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรม พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน ในชุมชน ทั้ง 5 หมู่ จำนวน 2 ครั้ง 40 2,580.00 -
2 กิจกรรมค่ายเยาวชนฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 37,420.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 กิจกรรมค่ายเยาวชน ตามฐาน สถานที่ต่างๆ 80 37,420.00 -
  1. แต่งตั้งคณะทำงานแกนนำเด็กและเยาวชน /จัดประชุมทุก 1-2 เดือน
    1. กิจกรรมค่ายเยาวชนฯ
    • เสริมทักษะการใช้ชีวิตในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
    • การป้องกันปัญหายาเสพติด
    • การป้องกันโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • การว่างตัวให้เหมาะสมตามวัย
    • การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    1. ประเมินผลกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ
    1. ป้องกันโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการว่างตัวให้เหมาะสมตามวัย
    2. มีแกนนำเด็กและเยาวชน ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว
    3. เสริมทักษะการใช้ชีวิต ในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
    4. มีความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ