กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 254,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทธิศักดิ์ โอฬาริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุถึงสถานการณ์ขยะในประเทศไทยว่าอยู่ในระดับวิกฤติอันมาจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการสอดคล้องกับข้อมูลกรมควบคุมมลพิษข้างต้น ประการแรก จากการสร้างขยะในจำนวนที่มากขึ้น โดยพบว่าปริมาณขยะรวมกันทั้งประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2551 ที่ 23.93 ล้านตันต่อปีเป็น 27.06 ล้านตันในปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ในช่วงเวลาเดียวกัน จากขยะ 27.06 ล้านตันต่อปี หรือ 74,130 ตันต่อวัน ซึ่งเฉลี่ยเป็นปริมาณ ขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และประการที่สอง วิธีการจัดการขยะในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพไม่ได้ทำให้ปริมาณขยะลดลงแต่กลับสะสมอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น จากขยะ 27 ล้านตันต่อปี ตกค้างสะสมในชุมชนกว่าปีละ 5.67 ล้านตัน ส่วนที่เข้าระบบปีละ 15.76 ล้านตัน ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 100 กำจัดโดยการฝังกลบ ซึ่งมีบ่อ ฝังกลบอยู่ 2,810 แห่ง แต่มีเพียง 328 แห่งเท่านั้นที่ฝังกลบถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ส่วนที่เหลือกว่าร้อยละ 88 ยังดำเนินการไม่ถูกต้องโดยมีข้อกำจัดทั้งเรื่องพื้นที่และงบประมาณในการจัดการ จึงเห็นภาพภูเขากองขยะอยู่ทั่วประเทศไทย การย่อยสลายต้องใช้เวลานาน เช่นพลาสติกใช้เวลา 450 - 500 ปี ส่วนกล่องโฟมไม่ย่อยสลายเลยส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหามลพิษ
จากการสำรวจปัญหาขยะในชุมชน เทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งมีจำนวนชุมชนทั้งหมด 20 ชุมชม    มีประชากรทั้งหมด 44,853 คน พบว่า ในแต่ละครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 1.13 กิโลกรัม/วัน/คนประเภทขยะที่พบ คือ ขยะแห้ง ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย โดยขยะแห้ง/ขยะทั่วไป (ถุงพลาสติก,กระดาษ,กล่องโฟม แพมเพิส) มีประมาณ 18,935 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 37.36.ขยะเปียก/ ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร เปลือกผลไม้) ประมาณ 29,152.กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 57.52 ขยะรีไซเคิล (กล่อง หรือกระปุกพลาสติก ขวดแก้ว) ประมาณ 2,594 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 5.02 และขยะอันตราย (หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย) ประมาณ 50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.1 ทำให้เกิดขยะชุมชน 50,683 กิโลกรัม/วัน (50.83 ตัน/วัน) แต่จากสถิติการเก็บขนของเทศบาลเมืองปัตตานี สามารถเก็บขนได้เฉลี่ยวันละ 30 – 40 ตัน /วัน ทำให้เกิดปัญหาขยะตกค้างในชุมชน ประกอบกับหากครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากขยะส่งผลให้ขยะตกค้างในชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมของคน และด้านอื่น ๆ ทำให้เกิดปัญหาขยะในระยะยาว มีผลกระทบต่อคนในชุมชน โดยตรงทั้งในด้านสุขภาพ เพราะขยะเป็นแหล่งกำเนิดของพาหนะนำโรคโดยเฉพาะแมลงวัน ยุง หนู เป็นต้น รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาการจัดการขยะ ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จากการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคในครัวเรือน ทำให้เกิดขยะ เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนโดยตรง ซึ่งมีอุบัติการณ์จากโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย เช่น โรคไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี (ปี 2563 /2564/2565) ที่ผ่านมามีผู้ป่วย จำนวน 35/0/13 ราย ตามลำดับ และส่งผลทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาท่อระบายน้ำอุดตัน ส่งผลให้ การระบายน้ำเป็นไปได้ช้า      เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี การแก้ไขปัญหาขยะจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และภาคเอกชน ในพื้นที่ ประกอบกับเทศบาลเมืองปัตตานียังมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจริมแม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องร่วมกันดูแลแม่น้ำปัตตานีให้อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนปัตตานี กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อต่อยอดการจัดการขยะ ในชุมชนตนเอง 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการจัดกิจกรรมด้านการจัดการขยะในโรงเรียนและบ้านเรือนตนเอง 3. เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อที่เกิดจากขยะตกค้างในชุมชน 4. เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาและโรคที่เกิดจากขยะ รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สวยงามของพื้นที่5. เพื่อสร้างความเข้มแข็งกับภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม
  1. ร้อยละ 80 แกนนำชุมชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อต่อยอดการจัดการขยะ            ในชุมชนตนเอง
  2. ร้อยละ 80 นักเรียนมีการจัดกิจกรรมด้านการจัดการขยะในโรงเรียนและบ้านเรือนตนเอง
  3. จำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อที่เกิดจากขยะตกค้างในชุมชนลดน้อยลงจากปี 2565
  4. เกิดภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 จัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร 2.2 แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 2.3 คณะทำงานประชุมวางแผน ชี้แจงแนวทาง แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 2.4 จัดเตรียมสื่อการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการขยะแต่ละประเภท 2.5 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะแก่ตัวแทนชุมชน และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
2.6 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะแก่ตัวแทนโรงเรียนทั้ง 5 โรง
2.7 เดินรณรงค์สร้างจิตสำนึกบริเวณเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 2 เดือน/ครั้ง และประกวดขบวนพาเหรดความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียนทั้ง 5 โรง 2.8 ประชุมวางแผนการจัดการขยะในสถานที่ท่องเที่ยวรอบแม่น้ำปัตตานีและ รณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning Day) บริเวณหอนาฬิกา 3 วัฒนธรรมและลานออกกำลังกายรอบแม่น้ำปัตตานี 2.9 ประชุมวางแผนการจัดการขยะในแม่น้ำลำคลองและลงเรือเก็บขยะในแม่น้ำปัตตานีร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปัตตานี 2.10 จัดเวทีเสวนาพร้อมสรุปประเมินผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 อัตราการป่วยด้วยโรคจากขยะมูลฝอยตกค้างในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี 6.2 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะด้วยชุมชนเอง และก่อให้เกิดธรรมนูญสุขภาพต่อไป 6.3 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6.4 เกิดภาคีเครือข่ายการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง 6.5 พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีมีความสะอาด โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนมีความสะอาด น่ามอง สามารถต่อยอดเป็นการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 09:42 น.