กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 66-L4127-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมเกียรติ สูแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลงทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถ ช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทยทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรคตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ สมุนไพร คือของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติคนไทยไม่เพียงแต่ใช้ สมุนไพรเป็นยารักษาโรคนั้น แต่นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพรบำรุงสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นมีรากฐานมานานนับร้อยนับพันปี อารยธรรมต่างๆ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงเผ่าพันธุ์และความเป็นผู้เจริญแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง ศิลปะเหล่านี้รวมไปถึงการกินด้วย อาทิ เช่น การตั้งสำรับและการประกอบจัดอาหาร ก็ไม่เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็นองค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีก จึงไม่น่าแปลกเลยที่อาหารและเครื่องดื่มของไทยจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ผู้บริโภคได้ซึมซับทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ กันอย่างชาญฉลาด การแปรรูปสมุนไพรของ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ จะเน้นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชน เนื่องจากจะได้ไม่เกิดความยากลำบากในการจัดหา และจัดทำ รวมถึงปลูกไว้ใช้เองในครัวเรือนควบคู่กับการทำพืชสวนชนิดอื่นๆ การส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักสมุนไพร และคุณประโยชน์ของสมุนไพรใกล้ตัวที่มีคุณค่ามากกว่าการใช้บริโภคเพียงอย่างเดียวจึงเกิดขึ้น การส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนด้วยการพึ่งตนเองจึงเน้นการดูแลรักษาสุขภาพในเบื้องต้น ก่อนโรคภัยไข้เจ็บจะมาถึงด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนรวมถึงการแปรรูปสมุดไพรในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกษตรกร และกลุ่มแม่บ้านมีรายได้เสริมนอกภาคการเกษตรใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ลดรายจ่ายในครัวเรือนและยังช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความสามัคคีของชุมชนอีกด้วย       ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคเบื้องต้น

ร้อยละ 50 ของชุมชนมีการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

80.00
2 เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับ อสม.

ร้อยละ 40 ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชสมุนไพรใช้ในครัวเรือน

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 ขั้นเตรียมการ(1 ก.ค. 2566-30 ก.ค. 2566) 0.00            
2 ขั้นดำเนินการ(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 26,400.00            
3 ขั้นสรุปผลและรายงาน(19 ก.ค. 2566-19 ก.ค. 2566) 0.00            
รวม 26,400.00
1 ขั้นเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 - 30 ก.ค. 66 จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ 0 0.00 -
1 - 30 ก.ค. 66 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน แก่ อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 - 30 ก.ค. 66 ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ 0 0.00 -
2 ขั้นดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 26,400.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพ 80 13,035.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 2 กิจกรรมภาคปฏิบัติ/ภาคสนาม 80 11,650.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 2 กิจกรรมภาคปฏิบัติ/ภาคสนาม 80 1,715.00 -
3 ขั้นสรุปผลและรายงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

ขั้นเตรียมการ       - จัดทำโครงการตามแผน เพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติโครงการ       - ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน แก่ อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง -ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ       ขั้นดำเนินการ       -กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการให้สมุนไพรในชุมชน       -กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่องการใช้พืชสมุนไพร       -กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ณ รพ.สต.บาเจาะ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน       ขั้นสรุปผลและรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชุมชน
    1. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
    2. ส่งเสริมให้ชุมชนใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคเบื้องต้นถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกัยพืชสมุนไพรให้กับประชาชนที่สนใจ
    3. สนับสนุนให้ประชาชนนำสมุนไพรพื้นบ้านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ