กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมสุขาภิบาลอาหารและพัฒนามาตรฐานร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 75,256.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโซเฟีย หะยีมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้อำนาจแก่ราชการ ส่วนท้องถิ่น
ในการตราข้อกำหนดของท้องถิ่น เรื่อง สุขลักษณะของกิจการที่ต้องควบคุมหรือกำกับดูแลเพื่อกิจการดังกล่าวได้ปฏิบัติหรือดำเนินกิจการเป็นตามสุขลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ได้แก่ สถานที่จำหน่ายอาหาร สะสมอาหาร และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบการดังกล่าว ต้องขอใบอนุญาตก่อนประกอบกิจการ หากเปิดกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดทางกฎหมาย กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.๒๕๖๑ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง หลักสุขาภิบาลอาหาร อันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติให้สามารถทำอาหารที่สะอาดปลอดภัย ป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือโรคภัยต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในปี ๒๕๖๕ (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕) พบผู้ป่วยจำนวน ๔๑๐,๖๙๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๖๒๐.๖๖
ต่อประชากรแสนคน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยประเมินร้านอาหารตามมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ซึ่งมีข้อกำหนดเกณฑ์การประเมินจำนวน 5 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขลักษณะของสถานที่จำหน่าย บริโภค ปรุง เตรียมอาหาร หมวดที่ 2 สุขลักษณะของอาหาร หมวดที่ 3 ภาชนะ อุปกรณ์และเครื่องใช้ หมวดที่ 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร หมวดที่ 5 ตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารด้วยชุดทอดสอบ SI-2 โดยการดำเนินงานตรวจประเมินร้านอาหาร ปี ๒๕๖๕ พบว่าผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารยังขาดความตระหนักและขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งทำให้มีความเสี่ยง ในการเกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้บริโภคได้สูง จากสถานการณ์ข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปัจจุบันมีร้านอาหารที่ขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน ๒๐๔ คน มีผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่ผ่านการอบรม และบัตรประจำตัวการอบรมหมดอายุในสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕๔ คน โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการ จำนวน ๕๑ คน และผู้สัมผัสอาหาร จำนวน ๑๐๓ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการที่เปิดกิจการรายใหม่จำนวน 13 ราย ยังไม่ผ่านการอบรมฯดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร และเพื่อให้การดำเนินงานกำกับ ดูแล
ด้านสุขาภิบาลอาหารเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดโครงการอบรมสุขาภิบาลอาหารและพัฒนามาตรฐานร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงและยกระดับร้านอาหารให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

  2. ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการมีการปรับปรุงและยกระดับร้านอาหารให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด ด้านสุขาภิบาลอาหาร (Clean Food Good Taste)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 จัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร 2.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ 2.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน และประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.4 จัดอบรมผู้ประกอบการด้านสุขาภิบาลอาหาร หลักสูตรผู้ประกอบกิจการ 2.5 จัดอบรมผู้ประกอบการด้านสุขาภิบาลอาหาร หลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร 2.6 ตรวจประเมินร้านอาหารตามมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) 2.7 มอบป้ายรับรองร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย
    (Clean Food Good Taste) 2.8 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง ประกอบอาหารได้อย่างถูกต้อง 6.2 ผู้ประกอบการมีการปรับปรุง และยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร 6.3 ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 10:10 น.