กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังภัยร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย โดย อสม.นักวิทย์ฯ สอน.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L5279-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 22,109.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.สุคนธ์ ชัยชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้านชำ ไม่จำหน่ายยาอันตราย
10.00
2 ร้อยละร้านอาหาร ปลอดโฟม
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด
  จากข้อมูลพื้นฐาน ปี 256๕ ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีร้านอาหาร จำนวน ๓ ร้าน ตลาด ๑ ตลาด ร้านชำ ๑๔ ร้าน (สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ต. พะตง, 256๕) ส่งผลให้ปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์จากโฟม ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นหมัน และสมองเสื่อม การใช้ยาอันตราย ยาสมุนไพรประเภทยาลูกกลอนแก้อาการปวดเมื่อยที่วางขายในร้านชำ ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนประเภทสารสเตียรอยด์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว เราจึงต้องดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการเพิ่มความรู้ให้ อสม. เพื่อให้ อสม.เป็นแทนของผู้รู้และไปบอกต่อให้ประชาชนทราบ
  ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลพะตง จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภัยร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย โดย อสม.นักวิทย์ฯ สอน.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ปี 2563” ขึ้น โดยให้ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน รุ่นที่ 1 ถ่ายทอดความรู้แก่ อสม.ในตำบลพะตง เพื่อให้ อสม.ทุกคนมีความรู้ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ การเข้าถึงหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ การใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นและ อสม.สามารถตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้เหมือน อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และ เพื่อให้ ผู้ประกอบการได้มีความรู้ งดการใช้โฟมและพลาสติก ร้านชำไม่นำยาอันตรายมาขาย เพื่อผู้บริโภคสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ 2. เพื่อให้ร้านชำ มีความรู้ และไม่จำหน่ายยาอันตราย 3. เพื่อผู้ประกอบการร้านอาหารไม่บรรจุอาหารลงในกล่องโฟมและลดการใช้พลาสติก 4. เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย ไม่บรรจุอาหารในกล่องโฟมและลดการใช้พลาสติก
  1. อสม.ผ่านเป็น อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์  ร้อยละ 100
  2. ร้านชำ ไม่จำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ ๘๐
  3. ร้านอาหาร ปลอดโฟม ร้อยละ ๑๐๐
  4. ตลาดไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารห้ามใช้ ร้อยละ ๑๐๐
10.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 จัดอบรม อสม.(21 ก.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 22,109.00          
รวม 22,109.00
1 จัดอบรม อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 22,109.00 0 0.00
21 ก.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้ อสม. และผู้ประกอบการร้านชำ 65 22,109.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ผ่านการประเมินศักยภาพ
  2. ร้านอาหาร ปลอดโฟม ร้อยละ ๑๐๐
  3. ตลาดไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารห้ามใช้ ร้อยละ ๑๐๐ ๔. ร้านชำ ผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว ๓ ร้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 15:56 น.