กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพชุมชน RDU เขตเทศบาลเมืองปัตตานี (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 สิงหาคม 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 75,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดซากี อูมูดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ในปีงบฯ 2565 จังหวัดปัตตานีประกาศนโยบายด้าน RDU “ชาวปัตตานีรอบรู้ เครือข่ายร่วมมือ  ใช้ยาปลอดภัยสมเหตุผล” เพื่อให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงาน RDU ผ่านกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ) การดำเนินงานในระดับอำเภอ ได้ดำเนินงานสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคี  ในพื้นที่และจัดการความเสี่ยง เช่น การจำหน่าย การโฆษณา การใช้ยาไม่ถูกต้อง (Community Participation) นอกจากนี้ได้จัดทำแนวทางส่งต่อข้อมูลความไม่ปลอดภัยด้านยาระหว่าง รพ. รพสต. ชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน RDU ระหว่างตำบล ตลอดจนวางแนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านยาและสื่อสารข้อมูลให้กับเครือข่ายและประชาชนพื้นที่ ในช่องทางที่เหมาะสม และประเมินความรอบรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในอำเภอ
ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำ ในชุมชนถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยา ของใช้เคมีในครัวเรือนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี มีสถานประกอบการต่าง ๆ  จำนวนมาก ร้านขายของชำในหมู่บ้าน 128 ร้าน และประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ ประมง ก่อสร้าง มักมีอาการปวดเมื่อย หายากินเองตามการแนะนำของเพื่อน บอกต่อ ซึ่งอาจจะผิดข้อบ่งใช้ ในปีงบประมาณ 2565  จากการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย โดยการสำรวจและประเมินความรอบรู้การใช้ยาอย่าง    สมเหตุผลของประชาชนจังหวัดปัตตานี (RDU Literacy) สิ่งที่พบคือ ประชาชนมีความรอบรู้ทันสื่อ    ร้อยละ 11.25 (เกณฑ์ผ่านต้องมากกว่าร้อยละ 80) โดยเฉพาะเรื่องการพิจารณาการเลือกใช้ยาผ่านการโฆษณา ตอบผิด ร้อยละ 67.8 และมีการขายเครื่องสำอาง และพบผลกระทบจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย 1 รายซึ่งต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แพ้ยาชนิดรุนแรงจากการซื้อยาใน 1 ราย และพบอาการ  ปวดท้อง 3 ราย ซื้อยาชุดจากในชุมชน นอกจากนี้ ในการสำรวจร้านชำตามแบบประเมินร้านชำคุณภาพ พบว่า ร้านชำยังตกเกณฑ์ในหัวข้อหมวดผลิตภัณฑ์ อาหาร ในข้ออาหารแปรรูปที่ต้องมีการขอเลขสารบบอาหาร  (เลข อย.) และแสดงให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง, ผลิตภัณฑ์อาหารหมดอายุ เสื่อมคุณภาพ วางจำหน่าย เก็บอาหารได้อย่างไม่เหมาะสม (สะอาด/แสงแดดส่องไม่ถึง/อุณหภูมิเหมาะสม ส่วนในหัวข้อหมวดยา จะตกเกณฑ์ในหัวข้อพบการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุหรือยาเสื่อมคุณภาพ และร้านชำบางที่มีจำหน่ายยาอันตราย พบว่ามีการขายยาแก้ปวดเมื่อยจากอินโด-มาเล ขายกาแฟที่มีสารปนเปื้อน ยามีสารปนเปื้อน ยาแผนปัจจุบันซิลดินาฟิล (Sildenafil) ร้านน้ำชา และบ้าน  การขายยาสมุนไพรผลิตเอง สมุนไพรหลังคลอด โดยไม่มีเลขทะเบียน ไม่มีฉลาก มาจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ระดับอำเภอเมืองปัตตานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงขอจัดโครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขาย เลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ผู้ประกอบการ และลดปัญหาจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยไม่จำเป็นให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 2.เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำRDU ในสามตำบลเขตเทศบาล 3.เพื่อลดจำนวนร้านขายของชำที่จำหน่ายยาอันตราย 4.เพื่อให้มีจุดเฝ้าระวังทดสอบยาชุดที่ต้องสงสัย ยาอันตราย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ศูนย์เรียนรู้RDU ในเขตเทศบาล

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย

มีเครือข่ายแกนนำ RDU ทุกชุมชนในเขตเทศบาล

ไม่มีร้านชำขายยาอันตราย มีจุดเฝ้าระวังตำบลละ 1 ที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีดำเนินการ
    1. เขียนโครงการ
    2. จัดทีมคณะทำงาน
    3. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
    4. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วย กิจกรรมดังนี้ 4.1 อบรมให้ความรู้และประชุมวางแผนคณะทำงานการออกตรวจ การใช้ชุดทดสอบสารอันตรายต่างๆ 4.2 อบรมผู้ประกอบการร้านชำในเขตสามตำบลในเขตเทศบาล ร้านละ 1 ท่าน 4.3 ออกตรวจร้านชำ ที่เข้าร่วมร้านละ 2 ครั้ง
          4.4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาจากการดำเนินงาน คณะทำงานจัดตั้งจุดเฝ้าระวังยาชุดและศูนย์RDU แต่ละตำบล
    5. จัดทำรายงานสรุปผลดำเนินงานโครงการส่งหลักฐานเลิกจ่ายเงินในโครงการ และเสนอผลการดำเนินการแก่ผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ประชาชนมีความรู้เรื่องยาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย     2. ร้านชำในชุมชนไม่มีการจำหน่ายยาชุด ยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ และสมุนไพรที่ปนเปื้อนสเตียรอยด์
    2. เกิดต้นแบบเครือข่ายชุมชนในการป้องกันภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ     4. เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย ในการแก้ปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์
  2. เกิดชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาล สามารถดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
  3. มีจุดเฝ้าระวังยาแผนโบราณที่ต้องสงสัย ศูนย์เรียนรู้ RDU
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 10:35 น.