กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 66-l3007-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 11 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 19,155.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมิสบะ กาลอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 19,155.00
รวมงบประมาณ 19,155.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาทางสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และวิทยาการทางการแพทย์ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจหลอดเลือดได้ แก่ โรคหัวใจขาดเลือดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการแต่ตรวจพบได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตนไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เป็นต้น พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ ในทุกชุมชน โดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขาภาพที่สำคัญในชุมชนจากสถานการณ์ป่วยด้วยโรคเรื้อรังพบความชุกเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.0 และความชุกของโรคความดันในประชากร 35 ปีขึ้นไป 153 คน ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล ในการดูแลรักษาและมักเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาอันได้แก่ โรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด หลอดเลือดหัวใจตาย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และ การป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และแก้ไขปัญหาร่วมกัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคอย่างถูกต้องและเหมาะสม

.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคความดันเบาหวาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2 ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กระบวนการที่ 1 1.จัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการดำเนินงาน -กำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของบุคลากรแต่ละระดับอย่างชัดเจน -กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1.1 สำรวจฐานข้อมูลประชากร จำแนกข้อมูลเป็นรายหมู่บ้าน - ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1.2 ดำเนินการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรอง 1.3 วิเคราะห์ข้อมูลการคัดกรองจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.3.1 กลุ่มเสี่ยง 1.3.2 กลุ่มสงสัยป่วย 1.3.3 กลุ่มป่วย กระบวนการที่ 2 2.การศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.1 ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงโดยใช้แบบประเมินกองสุขศึกษาก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 2.2 วิเคราะห์ข้อมูล 2.3 เผยแพร่รูปแบบกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2.4 ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3.สรุปประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพความดัน เบาหวาน 2.ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง 3.มีการศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง
4.ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานสามารควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
5.ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 11:48 น.