กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-l3007-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 11 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหมัด เตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 16,800.00
รวมงบประมาณ 16,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงโดยปี พ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลกได้ กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค(The End TB Strategy) มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค(Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลก ภายในปี พ.ศ. 2578 (2035) กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบแผน ยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติพ.ศ. 2560-2564 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานโดยมีมาตรการหลักในการจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้อง 1.เร่งรัดการค้นหาวินิจฉัย และรายงานให้มีความครอบคลุมการรักษา(Treatment Coverage) ร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ป่วยที่คาดประมาณจากอุบัติการณ์ 2.เร่งรัดการเข้าถึงบริการรตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค เช่นผู้สัมผัส ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องขังและแรงงานข้ามชาติให้ครอบคลุมร้อยละ 90 3. ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ ตรวจพบทุกรายด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient center care) ให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ด้วยผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ที่สำคัญนี้จะส่งผลให้อุบัติการณ์วัณ โรคลดลงอย่างรวดเร็วสู่เป้าหมายยุติวัณโรคได้จึงมีแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคเพื่อการ ป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรค พ.ศ.2560-2565 เป้าประสงค์คือ ลดอัตราอุบัติการณ์ของวัณโรคลง ร้อยละ 12.5 ต่อปี จาก 171 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2557 ให้เหลือ 88 ต่อประชากรแสนคน
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำจึงได้มีนโยบายการดำเนินงานวัณโรคเพื่อให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุม โดยการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง เป้าหมาย โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายได้รับการคัดกรองเชิงรุก ประกอบด้วย 1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2) ผู้ป่วยเบาหวาน 3) ผู้สูงอายุ≥ 60 ปี ที่มีโรคร่วมที่สัมพันธ์กับวัณโรค เช่น COPD Asthma Lung Disease Silicosis โรคภูมิต้านทางต่ำ เช่น SLE มะเร็งระบบเลือด มะเร็งบริเวณคอ 4) บุคลากรสาธารณสุข 7) ผู้สัมผัสร่วมบ้าน อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของตำบลสะกำที่ผ่านมา ยังน้อยกว่าเป้าหมายวัณโรค แห่งชาติกำหนดคือต้องพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ไม่น้อยกว่า 63 รายต่อปี
    ดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อ โรค เนื่องจากหากสามารถ  นำาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูงปี 2566 โดยการให้ความรู้ ค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วย แบบสอบถาม เก็บเสมหะตรวจหาเชื้อวัณโรค เพื่อให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิต จากการป่วยด้วยวัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ ๒. จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี 2566 ๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกำ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ ๔. ประสานและร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๕. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) กลุ่มเสี่ยงวัณโรค และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ๖. ดำเนินการอบรมการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค ๗. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรควัณโรค
8. อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบร่วมค้นหาและคัดกรองผู้สัมผัสกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 9. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรควัณโรคให้เหลือไม่เกิน 88 ต่อแสนประชากร ๒.ทำให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรควัณโรคและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันลดการเกิดโรควัณโรค
๓.ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรควัณโรค 4.ทำให้สามารถลดการแพร่ระบาดของโรควัณโรคในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 13:47 น.