กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลปะเสยะวอ
รหัสโครงการ 66-3057-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารานี ดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8849 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี        ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางราย อาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักจะระบาดช่วงหน้าฝนเพราะสาเหตุพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวย ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอง แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด โดยกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายในปี 2566 พบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากโดยข้อมูลจากการรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 16,650 ราย เสียชีวิต จำนวน 14 ราย และมีแนวโน้มที่จะเกิดการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ จึงขอเสนอโครงการโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลปะเสยะวอ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ        เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยสร้างความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ ก่อเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

1.1 ประชาชนในพื้นที่สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพิ่มขึ้น

2 1.2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

1.2 ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองน้ำ ร้อยละ 70 ของการลงสำรวจแต่ละหลังคาเรือน

3 1.3 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชน

1.3 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม ผู้นำชุมชน กลุ่มแกนนำ อสม. และประชาชนที่สนใจ จำนวน 70 คน(21 ก.ค. 2566-21 ก.ค. 2566) 0.00      
รวม 0.00
1 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม ผู้นำชุมชน กลุ่มแกนนำ อสม. และประชาชนที่สนใจ จำนวน 70 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ 7.2 ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก และชุมชนไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 14:05 น.