กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนบ้านคลองช้าง
รหัสโครงการ 61-L5171-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองช้าง
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 31 มกราคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชฎาพร เสนเผือก
พี่เลี้ยงโครงการ นายยศ อิสรโชติ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านคลองช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ปัจจุบันโรงเรียนประสบปัญหา เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยภายในโรงเรียนโดยมีสถานที่กำจัดขยะไม่เพียงพอ และจำนวนขยะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ขยะส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดจากต้นไม้ ใบไม้ และจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเนื่องจากโรงเรียนมีพื้นที่ 15 ไร่ ประกอบกับโรงเรียนบ้านคลองช้างเป็นโรงเรียนโครงการเศรษฐกิจพอเพียงและโรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแยวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีการปลูกพืชต่างๆ เพื่อใช้ในโครงการจึงทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทางโรงเรียนจึงมีแนวคิดว่าหากนำขยะที่มีอยู่ภายในโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยแปรสภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีน่าจะเกิดผลดีต่อการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของโรงเรียน อีกทั้งช่วยลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย นอกจากนี้ การนำขยะมามาทำเป็นปุ๋ยหมักนอกจากจะทำให้บริเวณโรงเรียนปราศจากใบไว้แล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิตและเป็นการสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โรงเรียนสะอาด และชุมชนใกล้เคียงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมนำใบไม้หรือเศษขยะมาจัดทำปุ๋ยหมักได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดขยะในโรงเรียน

โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากขยะที่นำมาแปรสภาพเป็นปุ๋ยหมัก

2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะให้เกิดประโยชน์และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำปุ๋ยหมักและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

3 3. เพื่อให้โรงเรียนสะอาด นักเรียน มีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

โรงเรียนสะอาด นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพิ่มขึ้น

4 4.เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่าง ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรมให้ความรู้แบบมีส่วนร่วม (นักเรียน ครู บุคลากร) ด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 วัน
  2. จัดอบรมในวันเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 1 วัน 3.เชิญวิทยากรจากหน่วยงานเกษตรมาให้ความรู้การจัดทำปุ๋ยเป็นเวลา 1 วัน
  3. จัดซื้อที่ทำและจัดเก็บปุ๋ยหมัก
  4. จัดซื้อรถเข็นและเข่ง สำหรับขนขยะไปยังที่จัดทำปุ๋ยหมัก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนมีการจัดการขยะที่เป็นระบบเกิดประโยชน์และผลดีต่อโรงเรียน มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพิ่มขึ้น
  2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. นักเรียนมีสุขลักษณะนิสัยและมีสุขภาพที่ดี นักเรียน ครู ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2560 10:35 น.