กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ
รหัสโครงการ 66-L4127-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรูซีนา ตาเละ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
75.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
80.00
3 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
65.00
4 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
65.00
5 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำ เดือน ประมาณ 12.5-15 มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 0.4-0.5 มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1.0 มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาลแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง และสามารถป้องกันเพื่อลดภาวะโลหิตจางเมื่อตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ปี 2563 - 2565 มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 33.63, 26.30 และ 28.00 (เป้าหมายน้อยกว่าร้อยละ10) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายหากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ ต่อการเจริญ เติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสตั้งครรภ์
    ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เพื่อรณรงค์กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะมีบุตรหรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรให้ได้รับการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อการเกิดมาอย่างมีคุณภาพและจะช่วยลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

75.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

80.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

65.00 80.00
4 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

65.00 80.00
5 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

80.00 90.00
6 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความตระหนักเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในช่วงก่อนตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความตระหนักเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในช่วงก่อนตั้งครรภ์

80.00
7 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ยได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อรักษาภาวะซีด

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ยได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อรักษาภาวะซีด

85.00
8 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก

ร้อยละของการการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 1. ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เคยตั้งครรภ์ และมีภาวะซีดในครรภ์ที่ผ่านมา (อายุ 15-45 ปี) ในเขตพื้นที่ตำบลบาเจาะ(1 ก.ค. 2566-30 ส.ค. 2566) 0.00            
2 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองภาวะซีด(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 38,000.00            
รวม 38,000.00
1 1. ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เคยตั้งครรภ์ และมีภาวะซีดในครรภ์ที่ผ่านมา (อายุ 15-45 ปี) ในเขตพื้นที่ตำบลบาเจาะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองภาวะซีด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 38,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองภาวะซีด จำนวน 4 รุ่นๆ ละ 50 คน รวม 200 คน 200 38,000.00 -

วิธีดำเนินการ     1. จัดทำโครงการ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ     2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง     3. ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เคยตั้งครรภ์ และมีภาวะซีดในครรภ์ที่ผ่านมา (อายุ 15-45 ปี) ในเขตพื้นที่ตำบลบาเจาะ 5. อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองภาวะซีด     6. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความตระหนักเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในช่วงก่อนตั้งครรภ์     2. หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซีด     3. หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อรักษาภาวะซีด     4. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ