กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน ”




หัวหน้าโครงการ
นางโศภิลัคน์ จิรศิริมาศ




ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-2-07 เลขที่ข้อตกลง 11/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ 2566-L8010-2-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 21 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 17,473.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-2 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 241 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 350.25 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.91 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพงโดยสถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านควน อัตราป่วยในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 6 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.ค.ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นชุมชนอาจยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อีกทั้งการเข้าถึงการควบคุมโรคยังล่าช้า เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันโรคยังไม่เพียงพอ ยังต้องรอเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาป้องกันควบคุม ในชุมชนเองยังไม่สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ทำให้เกิดความล่าช้าในการป้องกันควบคุมโรค ส่งผลให้เกิดการระบาดโรคไข้เลือดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน
  2. ประชุม/ชี้แจง
  3. การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน
  4. สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง
  5. ประชาสัมพันธ์
  6. สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI
  7. กิจกรรมควบคุม ป้องกัน
  8. ประชุมถอดบทเรียน
  9. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 232
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สร้างกลุ่มไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันควบคุมโรค

1.สร้างกลุ่มไลน์ประสานกับเขตบ้านที่รับผิดชอบ

2.สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานระหว่างคณะทำงานในทีม

3.สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานคณะทำงานทั้งตำบลรวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษาโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานร่วมกับแกนนำชุมชน และเจ้าหน้าหน้าอปท. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสร้างกลุ่มไลน์รายงานผลการระบาดของโรคไข้เลือดออกและการติดตามเคลื่อนที่เร็วในกลุ่มไลน์

 

0 0

2. กิจกรรมควบคุม ป้องกัน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด โดยการลงพื้นที่เคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายและใส่ทรายอะเบททำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

  • จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 3 ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย

1.สเปร์ไล่ยุง 3 กระป๋อง 2.ไฟฉ่าย 1 กระบอก 3.ถุงมือ 1 กล่อง 4.หน้ากากอนามัย 1 กล่อง 5.แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) 6.แบบรายงานสอบสวนโรค 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) 7.ทรายอะเบท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จัดเตรียมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 3 ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย สเปร์ไล่ยุง 2 กระป๋อง ไฟฉ่าย 1 กระบอก ถุงมือ 1 กล่อง หน้ากากอนามัย 1 กล่อง แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) แบบรายงานสอบสวนโรค 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) ทรายอะเบท เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไข้เลือดออก

 

0 0

3. ประชุมถอดบทเรียน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดเนินงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง เป้าหมาย จำนวน 17 คน

  • คณะทำงาน จำนวน 3 คน

  • แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 2 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา

  • แกนนำครอบครัว จำนวน 12 คน (เขตรับผิดรับละ 14 คน)

-เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมถอดบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน ร้อยละ 100 ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตหมู่ที่ 3 ดำเนินการตามโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการเพื่อควบคุมสถานการณ์ของโรคต่อไป

 

0 0

4. จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดตั้งคณะทำงานทีมป้องกัน ควบคุม เคลื่อนที่เร็วในชุมชน 1 ทีม

1.ประชุมคัดเลือกคณะทำงานและแต่งตั้งคณะกรรมการ

2.แบ่งครัวเรือนในความรับผิดชอบให้คณะกรรมการแต่ละคน

3.ชี้แจงรายละเอียดการทำงานภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

4.จัดตั้งกลุ่มไลน์ของคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานแก่คณะทำงาน ชี้แจงรายละเอียดโครงการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ จัดตั้งคณะทำงานโครงการวางแผนการปฏิบัติและมอบหมายงานให้แก่คณะทำงาน

ครั้งที่ 2 ประชุมชี้แจงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านบนควน เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน ดำเนินการเฝ้าระวังประชาชนในชุมชนโดยการลงสำรวจลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้งในเขตรับผิด ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป

ครั้งที่ 3 และ 4 ประชุมคณะทำงาน สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วและยังไม่ดำเนินการ สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงาน

 

0 0

5. ประชุม/ชี้แจง

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำงานการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

  • ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่แกนนำหมู่บ้านและแกนนำครอบครัวทราบวิธีการปฏิบัติงานของชุดคณะทำงานเคลื่อนที่เร็วในชุมชน ในการปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

  • จัดตั้งกลุ่มไลน์แกนนำครอบครัวในความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคนเพื่อรวบรวมข้อมูลแต่ละครัวเรือนและใช้ในการให้ความรู้ คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ร้อยละ 100 ในหมู่บ้าน ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จากการเฝ้าระวังในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านบนควน

 

0 0

6. ประชาสัมพันธ์

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคณะทำงาน รายละเอียดกิจกรรม

-ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง

1.การจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้

2.การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

3.ทางโรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน

4.แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์/แผ่นผับให้ความรู้กับประชาชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง รณรงค์/ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและลงพื้นที่ ให้ความรู้กับประชาชนในหมู่บ้าน เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ร้อยละ 93 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

0 0

7. สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง

1.คณะทำงานศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง จากสูตรในอินเตอร์เน็ต

2.คณะทำงานร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง/สเปรย์ไล่ยุง

3.นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชน/ผู้ที่มีความเสี่ยง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ร้อยละ 100 คณะทำงานดำเนินการจัดทำสมุนไพรแจกครบทุกครัวในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านบนควน และมีป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์/แผ่นผับให้ความรู้กับประชาชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายและลงพื้นที่สร้างกระแสประชาสัมพันธ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

8. สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI

วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ในหมู่บ้าน ประเมิน 2 เดือนครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ร้อยละ 100 ในหมู่บ้าน ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จากการเฝ้าระวังในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านบนควน โดยการลงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และการสำรวจลูกน้ำยุงลาย อาทิตย์ล่ะ 1 ครั้ง ตามเขตครัวเรือนที่รับผิดชอบ ร้อยละ 95 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

 

0 0

9. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม ให้กับทางกองทุนฯ อบต.กำแพง 2 เล่ม

 

0 0

10. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม ให้กับทางกองทุนฯ อบต.กำแพง 2 เล่ม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ไม่มีอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านบนควน
2. โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน ในหมู่บ้าน ร้อยละ 100 โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน และแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 3 คน
3. รณรงค์/ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและลงพื้นที่ ให้ความรู้กับประชาชนในหมู่บ้าน เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ร้อยละ 93 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
4. ร้อยละ 95 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : 1.อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านควน ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.คณะทำงาน ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.ร้อยละ 90 ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านควน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 4.ร้อยละ 80 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0
64.66 85.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 232
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 232
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน (2) ประชุม/ชี้แจง (3) การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน (4) สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง (5) ประชาสัมพันธ์ (6) สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI (7) กิจกรรมควบคุม ป้องกัน (8) ประชุมถอดบทเรียน (9) รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านบนควน จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-2-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางโศภิลัคน์ จิรศิริมาศ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด