กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักสุขภาพห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 66 - L4127 - 01 -05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซารีฟาห์ กะแวมือแน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
65.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการรักสุขภาพ ห่างไกลโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

80.00 95.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00 90.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

65.00 80.00
4 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

80.00
5 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

85.00
6 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ 2 ส

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ 2 ส

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ขั้นเตรียมการ(1 ก.ค. 2566-30 ก.ค. 2566) 0.00      
2 ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บาเจาะและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์(1 ก.ค. 2566-30 ส.ค. 2566) 0.00      
3 ขั้นดำเนินการ(1 ก.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 50,000.00      
รวม 50,000.00
1 ขั้นเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บาเจาะและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 ขั้นดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 310 50,000.00 0 0.00
??/??/???? จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน 50 10,000.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 80 12,200.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 80 24,800.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ตรวจสุขภาพประจำปีผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 100 คน 100 3,000.00 -
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บาเจาะและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  3. จัดทำโครงการเสนอและขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาเจาะ
  4. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  5. จัดกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป
  6. ตรวจสุขภาพประจำปีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน
  7. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
    2. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสูงรายใหม่ลดลง
    3. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ