กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 66-L4127-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 66,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรุสนี แวจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
85.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายและยุงก้นปล่องเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำเพิ่มจำนวนของยุงลายและยุงก้นปล่องพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโคไข้มาลาเรียอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายและยุงก้นปล่องก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายและยุงก้นปล่องมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทำให้มีการเดินทางมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกและเชื้อโรคไข้มาลาเรียชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อและรู้ช้าซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียด้วย
ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งชุมชน ครู นักเรียน องค์กรต่างๆในชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน ซึ่งกิจกรรมต่างๆนี้ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปทั้งสิ้น ชุมชนควรตระหนัก เห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดการรับผิดชอบร่วมกันในหมู่บ้านส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลงและหมดไปในที่สุด ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

85.00 95.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

85.00 90.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ร้อยละ 20

80.00
4 เพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละของการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

80.00
5 เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

ร้อยละของการสร้างความยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ขั้นดำเนินการ(1 ก.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 66,000.00      
รวม 66,000.00
1 ขั้นดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 103 66,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมดำเนินการพ่นหมอกควันและพ่นติดพนังในพื้นที่ระบาดของโรค 3 39,377.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ 50 10,423.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 50 16,200.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงแก่คณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บาเจาะ ถึงแนวทางการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565 โดยการประสานแนวคิดร่วมกับชุมชน โรงเรียน มัสยิด อบต.
2. มีการจัดตั้งคณะกรรมการและเครือข่ายการดำเนินงานระดับชุมชน 3. กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยอสม.และพลังประชาชน 4. การสอบสวนโรคเมื่อพบผู้ป่วยทุกรายและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้วิธีกายภาพ ชีวเคมีร่วมกัน ตามความเหมาะสม 5. สนับสนุนทรายอะเบท โลชั่นทากันยุงและน้ำมันเชื้อเพลิง และการพ่นหมอกควันในชุมชนโดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่เสี่ยง 6. กิจกรรมให้สุขศึกษาให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
    1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
    2. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
    3. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียได้ทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ