กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักเป็น ปลอดภัย ไม่ท้องก่อนวัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รหัสโครงการ 66 - L4127 -01 -10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสูรียา อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนาซีเราะ ปุโรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่น การนับระยะปลอดภัยหน้า 7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหา ประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ลดลง

85.00 90.00
2 เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ร้อยละของความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

70.00
3 เพื่อสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน

ร้อยละของการสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน

80.00
4 ร้อยละของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ ในกลุ่มเป้าหมาย

80

5 เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ร้อยละของการเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

80.00
6 เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหา

ร้อยละเด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหา

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 ขั้นเตรียมการ(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 0.00            
2 ขั้นดำเนินงาน(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 40,000.00            
3 ขั้นติดตาม ประเมินผล(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 0.00            
4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 0.00            
รวม 40,000.00
1 ขั้นเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ขั้นดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 360 40,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 120 28,900.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 กิจกรรมระดมสมองป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยอันควร 120 300.00 -
27 ก.ค. 66 กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยอันควร 120 10,800.00 -
3 ขั้นติดตาม ประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
  1. วิธีดำเนินการ
    1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 1.2 ประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 1.3 เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ อบต.บาเจาะ 1.3 ประชุมทีมและเครือข่ายเพื่อวางแผนการดำเนินงานใน
    2. ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นดำเนินการคัดกรองเด็กและเยาวชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุข
      กิจกรรมที่ 2 การอบรมเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาโดยใช้แนวคิดทักษะชีวิตจะสามารถช่วยให้เด็กและเยาวชนเข้าใจปัญหาและผลกระทบของการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สาเหตุของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีความรู้ความสามารถใช้ทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาเรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้อย่างมีกระบวนการ และสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยมีตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
    3. สถานการณ์ ผลกระทบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
    4. กิจกรรม “ก้าวสู่วัยรุ่น” (พัฒนาการทางเพศและสุขอนามัยวัยรุ่น)
    5. กิจกรรม “รู้แล้วจะเสียว” (โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
    6. กิจกรรม “รู้ทัน ป้องกันได้” (การคุมกำเนิด)
    7. กิจกรรม “หมวกกันน็อก” (ถุงยางอนามัย)
    8. กิจกรรม “เสี่ยง...ไม่เสี่ยง” (สถานการณ์เสี่ยง)
    9. กิจกรรม “แลกน้ำ” (เกมสาธิตการติดต่อโรคเอดส์)
    10. ขั้นติดตาม ประเมินผล 3.1 การติดตาม ประเมินทักษะชีวิตและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 3.2 อัตราการคลอดในวัยรุ่นในพื้นที่ที่ดำเนินการ
      3.3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนัก และมีองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของการเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพในกลุ่มนักเรียน
    1. สามารถป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
    2. กลุ่มเป้าหมายความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ