กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กฏหมายควรรู้และภาวะการเป็นผู้นำ29 พฤศจิกายน 2566
29
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทบมวนการเรียนการสอน
  2. ให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของคนในครอบครัว และการอยู่ร่วมกันในสังคม
  3. กิจกกรมสุข 5 มิติ 4.แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของคนในครอบครัว และการอยู่ร่วมกันในสังคม 2. ได้ร่วมกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม ทั้ง 5 มิติ ด้านที่ 1 : สุขสบาย (Health) หมายถึง การดูแลสุขภาพร่างกาย ตามสภาพที่เป็นอยู่ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำ เป็นพอเพียง ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหต ด้านที่ 2 : สุขสนุก (Recreation)  หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุที่ติดบ้านในการปรับตัวสามารถสร้างพลังความมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่ 3 : สุขสง่า (Integrity) หมายถึงความเข้าใจในความเป็นไปในชีวิตตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง ไม่ย่อท้อไม่ซึมเศร้า ด้านที่ 4 : สุขสว่าง (Cognition) หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุด้านความทรงจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผล การสื่อสารและความสามารถในการปรับตัวแบบยอมรับสภาพสิ่งที่เกิดขึ้น ด้านที่ 5 : สุขสงบ (Peacefulness)  หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทหน้าที่ของคนในครอบครัว18 กันยายน 2566
18
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ปฐมนิเทศนักเรียนผู้สูงอายุ
  2. แนะนำตารางการเรียนการสอน 3.ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกายใจ หลัก 5อ.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 5 อ.
ได้แก่ 1.อ.อาหาร รับประทานอาหารให้หลากหลาย ได้สัดส่วนเพียงพออิ่ม ครบ 5 หมู่ เน้นย่อยง่ายและสะอาด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 2.อ.ออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายทุกส่วนสัด กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มีหลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้นยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น และหลีกเลี่ยง การแข่งขัน ออกแรงเกินกำลัง ความเร็วสูง เกร็ง เบ่ง ยกน้ำหนัก การอยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กลางแดดจ้า 3.อ.อารมณ์ คือ อารมณ์รื่นเริงยินดี ชีวีสดใสด้วยรอยยิ้ม จิตแจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด ช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ลูกหลาน คนรอบข้าง 4.อ.อดิเรก สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม หากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำฟังเพลง ปลูกต้นไม้ และ 5.อ.อนามัย สร้างอนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หมั่นตรวจและรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน งด ละ เลิกอบายมุข บุหรี่ เหล้า ของมึนเมา และสารเสพติด

การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ18 สิงหาคม 2566
18
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทบทวนการเรียนการสอน
  2. ให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของคนในครอบครัว และการอยู่ร่วมกันในสังคม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของคนในครอบครัว และการอยู่ร่วมกันในสังคม

สุข 5 มิติ18 สิงหาคม 2566
18
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ให้ความรู้เรื่อง สุข 5 มิติ
  2. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติกิจกรรมนันทนาการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวตามกิจกรรม สุขทั้ง 5 ด้าน จำแนกความสุขของผู้สูงอายุ5 มิติดังนี้ ด้านที่ 1 : สุขสบาย (Health) หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกายให้มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรงคล่องแคล่วมีกำลังสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ตามสภาพที่เป็นอยู่ ด้านที่ 2 : สุขสนุก (Recreation) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทำ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ด้านที่ 3 : สุขสง่า (Integrity) หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง ด้านที่ 4 : สุขสว่าง (Cognition)หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผล การสื่อสาร การวางแผนและการแก้ไขปัญหาความสามารถในการคิดแบบนามธรรม
ด้านที่ 5 : สุขสงบ (Peacefulness)หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และโรคที่เกิดในผู้สูงอายุ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุความรู้และเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง

สุขภาพกายและใจ หลัก 5อ.11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ปฐมนิเทศนักเรียนผู้สูงอายุ
  2. แนะนำตารางการเรียนการสอน 3.ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกายใจ หลัก 5อ.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 5 อ.
ได้แก่ 1.อ.อาหาร รับประทานอาหารให้หลากหลาย ได้สัดส่วนเพียงพออิ่ม ครบ 5 หมู่ เน้นย่อยง่ายและสะอาด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 2.อ.ออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายทุกส่วนสัด กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มีหลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้นยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น และหลีกเลี่ยง การแข่งขัน ออกแรงเกินกำลัง ความเร็วสูง เกร็ง เบ่ง ยกน้ำหนัก การอยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท อยู่กลางแดดจ้า 3.อ.อารมณ์ คือ อารมณ์รื่นเริงยินดี ชีวีสดใสด้วยรอยยิ้ม จิตแจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด ช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ลูกหลาน คนรอบข้าง 4.อ.อดิเรก สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม หากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำฟังเพลง ปลูกต้นไม้ และ 5.อ.อนามัย สร้างอนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หมั่นตรวจและรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน งด ละ เลิกอบายมุข บุหรี่ เหล้า ของมึนเมา และสารเสพติด

จัดซื้อป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย

จัดซื้อวัสดุอุปณ์11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย จนท.กองทุน อบต.เหล่าบก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อวัสดุอุปณ์สำหรับดำเนินกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการเพียงพอ
1. กระเป๋าผ้า จำนวน 50 ใบ 2. ปากกาน้ำเงิน  จำนวน 2 กล่อง 3. ดินสอ จำนวน 1 กล่อง 4.ยางลบ จำนวน 1 กล่อง 5.ไม้บรรทัด จำนวน 4 อัน 6. เทปลบคำผิด จำนวน 1 อัน 7. กาวสองหน้า จำนวน 1 ม้วน