กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดบุหรี่ด้วยลูกอมหญ้าดอกขาว
รหัสโครงการ 66-L5175-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองเปียะ
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,645.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิสากร ดำราช
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนภัทร แก้วเหมือน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
70.25
2 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี
15.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงือผู้สูบเอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากวันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบบุหรี่มือสองทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศใ 2517 แต่ในปีพ.ศ.2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรคโรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกันและคาดว่าในปี พ.ศ.2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งมีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้ง การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรยารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัใจการสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเน้อหัวใจตายจากการชาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวายโรความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดมากกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความสเี่ยงเป็นพิเศษในการได้ับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงเช่นทารกน้ำหนักตัวน้อยคลอดก่อนกำหนดเด็กทารกได้ับควันดังกล่าวจะมีโอกาเกิดภาวะไหลตายปอดอักเสบติดเชื้อโรคภูมิแพ้โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไปสำนักงานสถิติแห่งชาตได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปี2557 พบว่าจำนวนประชากรมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคนเป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน(ร้อยละ 20.7)เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน(ร้อยละ18.2 ) สูบนานๆครั้ง 1.4 ล้านคน(ร้อนละ 2.5) ในกลุ่มวัยทำงาน(25 -59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด(ร้อยละ 23.5)รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน(15 - 24 ปี) (ร้อยละ 16.6 และ 14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ 40.5 และ 22 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับปั 2556 พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นและทุกกลุ่มมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15-24 ปีเริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้งมากกว่ากลุมอิื่นคือจากปี 2550 เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 16.8ปี ในปี 2557 ลดลงเป็นอายุ 15.6 ปีขี้ให้เห็นว่าอายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน่้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้นและในประเทศไทยมีนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 12 รพ.สต.คลองเปียะได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป้นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิติันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

70.25 60.00
2 เพื่อลดการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน

ร้อยละขอุงการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน

15.15 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 205 18,645.00 6 18,645.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน 10 610.00 610.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดตั้งเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน 30 2,025.00 2,025.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อาสาสมัครเครือข่ายจัดการควบคุมยาสูบโดยการเก็บข้อมูลและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ 60 60.00 60.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดการอบรม ลด ละ เลิก บุหรี่ เพื่อตนเองและคนรอบข้าง 50 6,150.00 6,150.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ ลด ละ เลิกบุหรี่โดยการใช้ลูกอมหญ้าดอกขาว และมอบใบประกาศเกียรติบัตร สำหรับบุคคลดีเด่นที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 25 2,300.00 2,300.00
31 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การบำบัด รักษา การเลิกบุหรี่ในคลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.คลองเปียะ 30 7,500.00 7,500.00

ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ปริมาณผู้สูบบุหรี่ลดน้อยลง -ผู้สูบบุหรี่เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ทั้งต่อตนเองและคนรอบข่้างมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 00:00 น.