กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่
รหัสโครงการ 2566-L8010-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 50,824.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุกัญญา เหร็มดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1219 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-2 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 241 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 350.25 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.91 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพงโดยสถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่ อัตราป่วยในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 8 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.ค.ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นชุมชนอาจยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อีกทั้งการเข้าถึงการควบคุมโรคยังล่าช้า เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันโรคยังไม่เพียงพอ ยังต้องรอเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาป้องกันควบคุม ในชุมชนเองยังไม่สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ทำให้เกิดความล่าช้าในการป้องกันควบคุมโรค ส่งผลให้เกิดการระบาดโรคไข้เลือดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่ ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

  2. คณะทำงาน ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

  3. ร้อยละ 90 ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านปีใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

4.ร้อยละ 80 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

65.62 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน 0 10,275.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมควบคุม ป้องกัน 0 18,255.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุม/ชี้แจง 0 4,225.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน 0 0.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง 0 7,680.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์ 0 1,364.00 -
21 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI 0 6,150.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมถอดบทเรียน 0 1,875.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 -
รวม 0 50,824.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 10:21 น.