กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กบือแนปีแนฟันดี ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3029-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาตีเมาะ อาเยาะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน ม.7 ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.806625,101.313536place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 224 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญในทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์จนถึงผู้สูงอายุโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงอายุ 1-3 ปีในขณะเดียวกันการมีภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพองค์รวมด้านอื่นๆอีกด้วย
สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง การดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ จึงส่งผลต่อภาวะโภชนาการและพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กในที่สุด ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชนบ้านบือแนปีแน ตำบลประจันยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ด้วยข้อจำกัดด้านทันตบุคลากร ทำให้ไม่สามารถติดตามดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง และยังขาดความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการให้บริการทันตกรรมทำให้ประชาชนไม่ได้เข้าถึงการรับบริการ ทันตกรรมตามความจำเป็น ทั้งนี้จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้าน นั่นคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนตลอดมา การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ผ่านมานั้นไม่มีรูปแบบการดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับหมู่บ้านและระดับครัวเรือนได้ และจาการสำรวจผลการตอบแบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ในกลุ่มอสม.พบว่า อสม.มีความรู้และทักษะในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อการนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนต่อไป ในการนี้เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนทำได้ โดยการเน้นรูปแบบการส่งเสริม ป้องกันให้กับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างถูกวิธี ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลจากทันตบุคลากรร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมา โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน โดยต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อให้สามารถเฝ้าระวังปัญหาและเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ในชุมชนได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาดงกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.ด้านทันตสุขภาพปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,600.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กบือแนปีแนฟันดี ประจำปี 2566 0 24,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องจนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ชุมชนได้
  2. อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน 3.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้กับบุตรได้อย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 10:33 น.