กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ มหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิตสู่ 2500 วัน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2579-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 42,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.สุคนธ์ ชัยชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) 1000 วันแรกของชีวิต เริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งกระบวนการพัฒนาร่างกายและทางสมองส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ภาวะเตี้ย ทุพโภชนาการ พัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้าเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่า คุณภาพ จะทำให้ทารกที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงสุด จึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมศักยภาพของเด็ก การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตมีสุขภาพที่ดีรวมถึงมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยสามารถดำรงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุขนั้น ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างให้กับเด็กซึ่งถ้าครอบครัวสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ ครอบครัวที่มีความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กมีการให้ความรัก ความอบอุ่นอย่างพอเพียง จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีการปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดี และจากผลการทบทวนถึงรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ในสังคมไทย พบว่าการอบรมเลี้ยงดูเน้นในการให้ความรัก ความอบอุ่น ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ใช้เหตุผล ในการอบรมสั่งสอนมีความสมํ่าเสมอในบทบาทของการให้รางวัลและการลงโทษจะมีผลเชิงบวกต่อพัฒนาการเด็ก สอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบผสม มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเป็น 1.9 เท่า ของเด็ก ที่ถูกเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ที่เน้นการให้ความรัก ความอบอุ่น การมีเหตุผล รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นใจ ให้กับเด็กแสดงว่าปัจจัยด้านพื้นฐานของครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญ เติบโต ภาวะสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก โดยผ่านกระบวนการอบรมเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดูเด็ก การพัฒนาความรู้ทักษะในการเลี้ยงดูเด็กให้กับ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก จึงมีความสำคัญยิ่ง โรงเรียน พ่อ แม่เพื่อลูกรัก “สุขภาพดีสมองดีอารมณ์ดีมีความสุข” จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะส่งเสริมพัฒนาการและ ศักยภาพตามช่วงวัยของเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม ผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็กของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติตำบลพะตง จาก HDC ในปี พ.ศ. 2564 พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ การฝากครรภ์ช้ากว่า 12สัปดาห์ มีภาวะทุพโภชนาการในมารดา ซีด หรือ ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ รวมถึงโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคระบาดโควิด19 และหญิงตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ส่งผลถึงทารกในครรภ์โดยตรง คลอดออกมาน้ำหนักน้อย ถึง ร้อยละ 16.7 ในปีงบประมาณ 2565
        จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่างานพัฒนาอนามัยแม่และเด็กเป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยจะต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและครอบครัว ภาคีเครือข่าย และใช้กระบวนการสร้างความรอบรู้ให้กับมารดา รวมถึงภาคีเครือข่ายและคณะกรรมการพัฒนาครอบครัวระดับชุมชน จึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตสู่ 2,500วัน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖6 เพื่อพัฒนาอนามัยสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อแม่เกิดรอดลูกปลอดภัย และเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพดี เติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพของชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต(17 ก.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 42,300.00                    
รวม 42,300.00
1 มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 145 42,300.00 0 0.00
17 ก.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 1.ประชุมคณะกรรมการเด็กและครอบครัวระดับตำบล (CFT ระดับตำบล) 25 2,000.00 -
17 ก.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อ ต่างๆ 20 3,400.00 -
17 ก.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการเด็กและครอบครัวระดับชุมชน (CFT ชุมชน) และประชาคมสุขภาพ 4หมู่บ้าน 20 2,000.00 -
17 ก.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด0-6 เดือน และเด็ก 6 เดือน-2 ปี เพื่อประเมินครอบครัว 20 500.00 -
17 ก.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก 20 25,800.00 -
17 ก.ค. 66 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 40 8,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 10:40 น.