กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกพืช ผักสมุนไพร ปลอดสารพิษ โรงเรียนวัดสีหยัง
รหัสโครงการ 66-L7251-02-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดสีหยัง
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภัค สุวรรณรัศมี
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับเด็กในโรงเรียนวัดสีหยังเป็ฯผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี แม้ว่าแม่ครัวจะล้างทำความสะอาดอย่างดีแต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากนักเรยนบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็นป่วย และการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน   ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ่อตรุร่วมกับโรงเรียนวัดสีหยัง จึงได้จัดทำโครงการร่วมปลูกพืชผักสมุนไพร ปลอดสารพิษขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษและโรงเรียนจะเป็นผู้กระตุ้นเตือน สร้างความตระหนักให้ครัวเรือนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้นักเรียน ได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

 

2 ๒.เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

3 ๓.เพื่อนำพืชผักที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

 

4 ๔.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.สำรวจพื้นที่การเพาะปลูก ๒.กำหนดคณะครูเพื่อกำหนดแนวทาง ๓.นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ ขั้นตอนดำเนินงาน ๑แต่งตังคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการปลูกพืช ผักสมุนไพร ปลอดสารพิษ ๒.ประชุมคณะกรรมการเพื่อดำเนินงาน ๓.ครูจัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการบริโภคผักปลอดสารพิษ เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษและรับประทานผักเพิ่มมากขึ้น ๔ปลูกพืชผักสวนครัว/พืชสมุนไพร ๔.๑เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ๔.๒เตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ๔.๓เลือกชนิดผัก เช่น ผักกาดขาว , มะนาว , ผักคะน้า , ผักบุ้ง , มะเขือ , พริกชี้ฟ้า , ผักกวางตุ้ง , โหรพา , กระเพรา , เป็นต้น   ๔.๔ดำเนินการปลูกผักสวนครัว โดยไม่ใช้สารเคมี ๕ครูจัดแบ่งเวรให้กับนักเรียนในการช่วยกันดูแล ผักในแปลงปลุก ๖.มีการประเมินความพึงพอใจในการทำกิจกรรมจากนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง ๗.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน เสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ่อตรุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ ๒.นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ๓.นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ครบทุกคน ๔.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิผผผผผะีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 15:02 น.