กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพ่น ULV ควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ L8411-66-05-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,284.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพศาล บาเหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกลายเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศเพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง จากข้อมูกทางระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2547 ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงที่สุด ซึ่งน่าสังเกตว่าในปัจจุบันการระบาดมิได้เกิดเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ยังควรมีการระบาดได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยการควบคุมพาหนะนำโรคไข้เลือดออกทั้งที่บ้าน โรงเรียน และในชุมชน ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนและความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้รับรายงานพบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 19 ราย อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 3.50 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และจากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกปี พ.ศ. 2565 ของ รพ.สต.บ้านทำนบ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคเท่ากับ 12.20 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2564 มีผู้ป่วยจำนวน 0 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคเท่ากับ 0.0 ต่อประชากรแสนคน และค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 109.76 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ทำให้มีการแพร่ระบาดและมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าว การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนในชุมชน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปี ดังนั้น การจัดทำโครงการขึ้น เพื่อเป็นการการควบคุมยุงลายในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกกับตนเองได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที

 

2 เพื่ออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

 

3 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่ออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

20 ส.ค. 66 พ่นหมอกควัน ให้สุขศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก แจกทรายอะเบท สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 7.00 23,284.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
  3. ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ชุมชน หมู่บ้าน โดยประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 15:05 น.