กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส
รหัสโครงการ 13/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ตะโละไกรทอง
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซานีซา หะยีวาเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.627,101.64place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19,220.00
รวมงบประมาณ 19,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) สภาพสังคมในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ทั้งนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียนโดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูง จึงทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในครัวเรือนทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุหรือผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาสที่มีอยู่ในบ้านเพราะต้องดิ้นรนทำมาหากินเพื่อนำเงินมาจุนเจือในครอบครัว จึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุบางรายดำเนินชีวิตเพียงลำพัง อีกทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส หลายราย มีโรคประจำตัวหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มหรือชมรมต่างๆ บางรายอาจเกิดการน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป อบต.ตะโละไกรทอง ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มีความอยู่ดีกินดี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาคุณภาพชีวิตผู้ ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณ เพื่อการช่วยเหลือ ประชาชนตามอำนาจหน้าที่ ของ อบจ. เทศบาลและ อบต. พ.ศ. ๒๕๔๓ มีความประสงค์จะตั้งงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาความเดือนร้อนและความต้องการของประชาชน ตลอดจนแนวทางการแก้ไข ปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ ช่วยเหลือส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ไร้ที่พึ่งและผู้ด้อยโอกาสและผู้ควรได้รับการสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ตามความจําเป็นและเหมาะสม ของ อบต.ตะโละไกรทอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเยี่ยมให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ขาดผู้ดูแลและปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง และเพื่อประเมิณคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ

ร้อยละ 85 ได้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ขาดผู้ดูแลและปฏิบัติตัวถูกต้อง ร้อยละ 70 ประเมิณคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุผู้พิการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละไกรทอง 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - สำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุและผู้พิการเพิ่มเพื่อจัดตารางออกเยี่ยม             - อบรมให้ความรู้ผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมาย - จัดเตรียมชุดอาหารสาธิตฯ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเยี่ยม - ออกเยี่ยมผู้ป่วยตามวันเวลาที่กำหนด - ประเมินสภาวะสุขภาพจิตผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุและผู้พิการ ตามแบบประเมินสุขภาพจิต 2Q และ9Q 4. ประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละไกรทอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเรื้อรัง/ ผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ด้อยโอกาส ได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแล
  2. คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ที่ได้รับการเยี่ยมดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 15:15 น.