กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3033-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ระแว้ง
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอิลยัส อีบุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซูไรนี บาหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (20,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ปัญหาที่พบในมารดาวัยรุ่นคือ ภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม และภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดปัตตานีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563-2565 พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 28.23, 19.9 และ 14.87ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี พันคน ตามลำดับ สำหรับปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – มกราคม 2566 ประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 26,616 คน คลอดมีชีพ จำนวน 76 คน คิดเป็นอัตราเท่ากับ 17.48 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี พันคน (เป้าหมายไม่เกิน 14.4 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน)
ในตำบลระแว้งการสมรสก่อนอายุ 20 ปี เป็นค่านิยมของคนในชุมชน ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตำบลระแว้งคิดเป็นร้อยละ 5.93 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน แต่พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอดร้อยละ 50 ต่อมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นในตำบลระแว้งทั้งหมด เช่น ปัญหาภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม อีกทั้งมีปัญหาการหย่าร้างเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการร้อยละ 95

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 1 20,000.00
3 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นปี 2566 0 20,000.00 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเองและมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 3.กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นตำบลระแว้งมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และผลกระทบของการตั้งครรภ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 00:00 น.