กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ จัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station หมู่ที่ ๔ บ้านคู ตำบลคลองเฉลิม
รหัสโครงการ 2566-L3306-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองเฉลิม
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิริพร สะแหละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึง และประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - 19 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการ คัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพออนไลน์ด้วย Application บนมือถือของประชาชน และเชื่อมต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง และ เป็นช่องทางในการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพผ่าน Platform Digital
โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านคู มีความคาดหวังว่าจะช่วยลดอัตราการป่วย และการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อลงได้ จึงได้เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station ขึ้น ในหมู่ที่ ๔ บ้านคู ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เพิ่มขึ้น

ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น มากกว่าร้อยละ ๕๐

2 ๒ ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิทัล สุขภาพดีขึ้น

ร้อยละของผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 จัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station หมู่ที่ ๔ บ้านคู ตำบลคลองเฉลิม(26 ก.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 10,000.00      
รวม 10,000.00
1 จัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station หมู่ที่ ๔ บ้านคู ตำบลคลองเฉลิม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 10,000.00 0 0.00
26 - 31 ก.ค. 66 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน 30 0.00 -
26 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน และร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือ และมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน 20 0.00 -
26 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ 0 10,000.00 -
1 ส.ค. 66 - 25 ก.ย. 66 พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน ให้สามารถใช้อุปกรณ์ การตรวจคัดกรองและใช้ Application ได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการป่วยจาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 30 0.00 -
1 ส.ค. 66 - 25 ก.ย. 66 ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ คัดกรองเบื้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย, รอบเอว และวัดระดับความดันโลหิต คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา และประเมินสุขภาพจิต ร่วมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 0 0.00 -
1 - 25 ส.ค. 66 จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมลุกขึ้นมาวิ่ง (เช้า/เย็นของทุกวัน) เต้น รำ กีฬา ออกกำลังกายอื่น ๆ เป็นต้น 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 66 ประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ
๑. ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่รับผิดชอบ (รพ.สต. เทศบาล) อสม. ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชน ๒. ประชุมคณะทำงาน และร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือและมีอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว ป้ายแสดงการแปลผลค่าความดันโลหิต ค่าน้ำหนักที่ควรเป็น สมุดบันทึกการใช้บริการ และคำแนะนำที่ประชาชนเข้าใจง่าย
๓. พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน ให้สามารถใช้อุปกรณ์ การตรวจคัดกรองได้ถูกต้อง
๔. พัฒนาศักยภาพ อสม. และประชาชน ให้สามารถใช้ Application ได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการป่วยจาก โรคไม่ติดต่อ
๕. ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ คัดกรองเบื้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย, รอบเอว และวัดระดับความดันโลหิต คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา และประเมินสุขภาพจิต ร่วมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
๖. ติดตามกลุ่มเสี่ยง และให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงสุขภาพ ๗. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมลุกขึ้นมาวิ่ง (เช้า/เย็นของทุกวัน) เต้น รำ กีฬา ออกกำลังกายอื่น ๆ เป็นต้น ๘. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น
๒. ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิตัล สุขภาพดีขึ้น ๓. อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2566 09:54 น.