กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมครูเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานบริการการแพทย์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 35,185.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ปัจจุบันสถานศึกษา มีการให้บริการในด้านอนามัยโรงเรียน (School Health Service) ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอนามัยอื่นๆ ในด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยมีห้องปฐมพยาบาลในสถานศึกษานั้นเป็นที่พึ่งแรกเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรักษาโรคเบื้องต้นหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยของทั้งครูและนักเรียน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลการใช้ยาและการบริหารจัดการ ด้านระบบยา การจัดซื้อจัดหายาและเวชภัณฑ์สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยและให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับครูและนักเรียน เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีสุขภาพดี สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จากการศึกษาข้อมูลของโรงเรียนในพื้นที่ พบว่า ห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนหลายแห่งยังไม่มีการจัดการด้านยาที่เหมาะสมเท่าที่ควร โรงเรียนบางแห่งมีรายการยาที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ เช่น มียาปฏิชีวนะ, มียาที่หมดอายุ, มีการจัดเก็บยาที่ไม่เหมาะสม, การจ่ายยาแก่นักเรียนไม่เหมาะสม, ไม่มีการบันทึกข้อมูลการใช้ยาที่อยู่ในสถานศึกษา
ซึ่งผู้ป่วยที่มารับบริการนั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งด้านอายุ ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัว โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา เป็นต้น ทำให้จะต้องมีความระมัดระวังในการเลือกใช้ยาให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วย การคัดกรองผู้ป่วยในกรณีที่มีประวัติการแพ้ยา หรือต้องมีการเฝ้าระวังการใช้ยาที่เกิดอันตรกิริยากับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ดังนั้นห้องพยาบาลจึงควรมีผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ยา เช่น ขนาดยาที่เหมาะสม ยาที่เหมาะสมกับอาการ/ความเจ็บป่วยต่าง ๆ วิธีการใช้ยาในขั้นเบื้องต้น การสังเกตยาเสื่อมคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษายา รวมถึงระบบการบริหารจัดการยาที่ดี การตรวจสอบยาคงคลัง เพื่อให้มีห้องพยาบาลมียาในคลังพร้อมใช้ตลอดเวลา
    นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคทางทันตกรรม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในกลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ คือ ปัญหาด้านทันตสุขภาพ จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากตามกลุ่มอายุของเด็กนักเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง ปีงบประมาณ 2565 พบว่า เด็กระดับอนุบาล อายุ 3 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52.74 เด็กระดับประถมศึกษา อายุ 6-12 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 41.23 มีหินปูนและเหงือกอักเสบ ร้อยละ 35.54 จะเห็นได้ว่าอัตราโรคฟันผุยังเป็นปัญหาการลุกลามเกิดขึ้นเร็วและมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 3 ปี ซึ่งการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนเวลา และทำให้โครงสร้างของฟันแท้ผิดปกติ ส่วนกลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟัน มีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายและมีภาวะเหงือกอักเสบร่วมด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะมีผลเสียโดยตรง ต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กได้อีกด้วย ส่วนการแก้ไขปัญหา ด้านทันตสุขภาพได้จัดให้มีบริการทางทันตกรรม ให้ทันตสุขสึกษา เน้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ทุกวัน และการจัดกิจกรรมต่างๆทางทันตสุขภาพเพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ดังจะเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกันทั้งส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทางทันตกรรม โดยได้อาศัยความร่วมมือจากบุคลากรต่างๆ ผู้ดูแลเด็กและคณะครูในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน
    ดังนั้น งานบริการการแพทย์ เทศบาลนครตรัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมครูเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการดูแลสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลนครตรัง ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้บุคลากรครูมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของเด็กนักเรียน และอีกทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนได้อย่างถูกวิธี

2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการใช้ยาเบื้องต้น การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการใช้ยาเบื้องต้น การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ก.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 35,185.00      
รวม 35,185.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 35,185.00 1 35,185.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความสำคัญของสุขภาพช่องปาก โรคในช่องปาก การดูแลรักษาและป้องกันโรค อาหารกับสุขภาพช่องปาก 0 35,185.00 35,185.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นแก่นักเรียนได้
  2. สามารถดำเนินกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2566 13:32 น.