กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านพูด ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L3306-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. รพ.สต.บ้านพูด
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 24,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น นั้น       ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ตำบลคลองเฉลิม จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

3 กลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ โดยมีผลแยกกลุ่มดังนี้ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเป็นโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านพูด ปี 2566(26 ก.ค. 2566-30 ส.ค. 2566) 24,200.00      
รวม 24,200.00
1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านพูด ปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 660 24,200.00 0 0.00
26 ก.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 ๑. ให้ความรู้ และสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จำนวน 300 คน ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ดังนี้ 1. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 100 คน 2. ความดันโลหิต จำนวน 150 คน 3. กลุ่มค่าBMI มากกว่ 300 6,000.00 -
26 ก.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 2. รับสมัครกลุ่มเสี่ยง (กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิต และค่า BMI มากกว่า 25) ที่ประสงค์จะเข้าร่วมในกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดโครงการ จำนวน 180 คน โดยแยกรายหมู่ๆ ละ 30 คน ในจำนวน 6 หมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 11, หม 0 0.00 -
26 ก.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เพื่อการดำเนินงานดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ 0 11,000.00 -
26 ก.ค. 66 - 22 ก.ย. 66 4. กิจกรรมกลุ่ม แยกรายหมู่ เพื่อทำความเข้าใจ ข้อตกลงร่วมกัน รวมถึงกระบวนการให้บริการ แนะนำการคู่มือ เครื่องมือต่างๆ พร้อมกับ จัดตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารในการทำกิจกรรม ตลอดโครงการ 180 1,800.00 -
26 ก.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 5. ติดตามประเมินผล จำนวน 3 ครั้ง ในกลุ่มเป้าหมาย 180 คน ทั้ง 6 หมู่บ้าน 180 5,400.00 -
11 - 30 ก.ย. 66 สรุป รายงานผลโครงการ 0 0.00 -

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ   ๔. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง         เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ , โรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง พร้อมตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมิน         ความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด       ๕. นำกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และค่า BMI เกิน เข้าสู่คลินิกไร้พุง         เฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโดย อสม.อย่างต่อเนื่องทุกเดือน
      ๖. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ได้รับความรู้ในการปฏิบัติ และป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และค่า BMI เกิน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคดังกล่าว
๒.ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม และส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ๔. ลดภาวะแทรกซ้อนใหม่ในกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2566 11:10 น.