กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายครูผู้สอนและนักเรียนภาวะอ้วนผ่านการออกกำลังกายรูปแบบปัญจะศิละ
รหัสโครงการ 66-L7892-2-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนมิฟตาฮุดดีน(บ้านพลีใต้)
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 24,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนมิฟตาฮุดดีน(บ้านพลีใต้) หมู่ 3 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทวีนอกอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคมปัญญาและจิตวิญญาณมีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอประมาณมีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวและหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุขโดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิครำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอลเซปักตะกร้อ ปัญจะศิละเป็นต้นทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบปัญจะศิละเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษาทั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนเอกชนยังไม่ค่อยมีการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยปัญจะศิละมากนัก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงเรื่องโรคอ้วนได้ตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายรวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในโรงเรียนอีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรครูและนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงจำนวน 40 คนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกาย

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมมีผลดัชนีมวลกายดีขึ้น

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งชมรมปัญจะศิละในโรงเรียน

มีชมรมปัญจะศิละในโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,380.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 31 ต.ค. 66 กิจกรรมพิธีเปิดและตรวจผลดัชนีมวลกายผู้เข้าร่วม 0 3,005.00 -
1 ส.ค. 66 - 31 ต.ค. 66 การฝึกปฏิบัติระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆละ 3 ครั้ง 0 18,000.00 -
1 ส.ค. 66 - 31 ต.ค. 66 การมอบประกาศนียบัตรผู้มีผลการฝึกดีเด่นจำนวน 5 รางวัล และผู้เข้าร่วมอีก 35 รางวัล 0 3,375.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บุคลากรครุและนักเรียนที่เข้าร่วมมีสุขภาพดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรค
  2. เกิดเครือข่ายในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายเพื่อสุขภาพขึ้นในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 00:00 น.