กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะ ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิงแวดล้อม เทศบาลตำบลนาทวีนอก
รหัสโครงการ 66-L7892-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลตำบลนาทวีนอก
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 35,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซัลวา ล่าเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อาคาร อบจ.ส่วนหน้า เทศบาลตำบลนาทวีนอก กิจกรรมที่ 2 หมู่ที่ 2, 3, 5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15, 16 และ 17 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องยังอยู่ในอัตราที่ต่ำชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ เทศบาลตำบลนาทวีนอกก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ และปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ส่งผลให้ต่อการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูล ปี พ.ศ.2563 มีปริมาณขยะ 675.599 ตัน ปี พ.ศ.2564 ปริมาณขยะ 772.041 ตัน ปี พ.ศ.2565 ปริมาณขยะ 1,200.004 ตัน ปี พ.ศ.2566 (ม.ค.-มิ.ย.) 524.82 ตันดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชนลดปริมาณขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนโดยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนร่วมกันแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือน เป็นต้น จากข้อมูลทางระบาดวิทยาปี 2566(ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 14 กรกฎาคม 2566) พบว่า ในตำบลนาทวีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 13 ราย อัตราป่วย 76.12 ต่อแสนประชากร ซึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เห็นพาหะนำโรค ด้วยเหตุนี้ งานส่งเสริมสุขภาพ สำนักปลัดเทศบาลตำบลนาทวีนอก จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะ ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เทศบาลนาทวีนอก เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการลดปริมาณขยะในครัวเรือน กระตุ้นให้ประชาชน ได้รับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอย

ประชาชนมีความรู้ด้านการจัดการขยะร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งโดยสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนในความปลอดภัยด้านสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสม

ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอย

ไม่มีแหล่งขยะเพาะพันธุ์โรคในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,690.00 2 35,690.00
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 0 17,030.00 17,030.00
1 ส.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning ทำลายแหล่งขยะหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน -ส่งเสริมและสร้างกระแสการรณรงค์การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถลดผลกระทบต่อสุขภาพและปริมาณมูลฝอยที่ลดลง 0 18,660.00 18,660.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความตระหนักและพฤติกรรมที่ถูกต้องในการจัดการขยะ
  2. การบริหารจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างถูกวิธี สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 00:00 น.