กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถึงครัวถึงใจ
รหัสโครงการ 66-L5284-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 บ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอหวัน อุเจ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็มเกิน และกินผักน้อยลง คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ เส้นเลือดสมองเสื่อม ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อม ทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือด ในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำ ให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2565 พบว่า หมู่ที่4 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยแยกเป็น โรคความดันโลหิตสูง จำนวน๓๘ ราย คิดเป็นอัตรา ๖๘.๘๔ต่อพันประชากร โรคเบาหวาน จำนวน ๙ ราย คิดเป็นอัตรา ๑๖.๓๐ต่อพันประชากรเป็นทั้ง ๒ โรค จำนวน๔ ราย คิดเป็นอัตรา ๗.๒๕ต่อพันประชากรร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี เท่ากับ 39.87จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลดพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 20.63ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันได้ดี ร้อยละ ๔๖.๓๒ ซึ่งข้อมูลที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การควบคุมทั้งระดับความดัน และระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังรังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่สามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ หมู่ที่4 บ้านกลางมีจำนวน 129 หลังคาเรือน มีจำนวนหลังคาเรือนที่ป่วย จำนวน 49 หลังคาเรือน ที่เป็นกลุ่มป่วยและมีกลุ่มเสี่ยงอยู่ในหลังคาเรือนดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ทางหมู่ที่ ๔ บ้านจึงมีความต้องการ จัดทำโครงการถึงครัวถึงใจ นี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านเป้าหมายร้อยละ 50 มีความรู้ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขที่เน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการรักษาพยาบาล โดยมีการให้ความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง ที่ประกอบอาหารทานเอง ผู้ ดูแลผู้ป่วย โดยเน้นการเลือกผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงในครัวเรือน การเรียนรู้ฉลากโภชนาการ เมื่อผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ จะมีการติดตามเยี่ยมเพื่อช่วยจัดครัวสุขภาพดี โดยอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้ดูแลผู้ป่วย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส. ข้อที่ 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการเยี่ยมครัวสุขภาพดีที่บ้าน ข้อที่ 4 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ลดลง ข้อที่ 5 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ลดลง ข้อที่6 กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาล

ข้อที่ 1.ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80
ข้อที่ 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ร้อยละ 100 ข้อที่ 3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการเยี่ยมครัวสุขภาพดีที่บ้านร้อยละ100 ข้อที่ 4 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน  รายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5

ข้อที่ 5 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 2.5

ข้อที่ 6กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามครอบคลุมร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
15 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 โครงการถึงครัวถึงใจ ปี 2566 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงร้อยลง 60 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีระดับความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 60 3.ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ลดอัตราการเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 50 4.ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้ในการเลือกผลิตภัณฑ์ ฉลากโภชนาการ ร้อยละ 80 5.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน ได้รับความรู้และการเยี่ยมติดตามดูแลครัวสุขภาพดีร้อยละ 50
6.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ 5 7.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละ2.5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2566 11:17 น.