กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อาหารเช้าอิ่มท้องน้องสมองใส
รหัสโครงการ 61-L5171-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองคล้า
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทิกา นครพรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนุสรา หมาดมานัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันพ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้จึงต้องไปทำงานไกลบ้าน เพื่อให้มีรายได้มาจุนเจือเลี้ยงดูครอบครัว และบางครอบครัวในชุมชนบ้านคลองคล้าผู้ปกครองมีอาชีพกรีดยางซึ่งต้องไปตั้งแต่เวลา 02.00 น. กลับมาถึงบ้านเวลา 09.00 น. ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่จึงต้องดำเนินชีวิตอยู่กับญาติหรือบุคคลอื่น อาจเกิดปัญหาเด็กขาดความอบอุ่น ถูกทอดทิ้ง หรือละเลยโดยเฉพาะเรื่องปากท้อง นั่นคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า จากการสำรวจและสัมภาษณ์โดยการไปเยี่ยมบ้านของครูประจำชั้นนั้น ได้ข้อมูลส่วนใหญ่คือนักเรียนได้รับประทานอาหารไม่ครบสามมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าจะเป็นมื้อที่ถูกละเลยซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ ซึ่งมีหลากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ปกครองทำไม่ทันเพราะต้องรีบไปทำงานซึ่งที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน ขาดแคลน ยากจน ได้รับประทานเป็นบางวัน เพียงพอบ้างไม่เพียงพอบ้าง อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วงวัยประถมศึกษา เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเจริญเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนวัยประถมจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่มจิตใจก็แจ่มใสเบ่งบานพร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญเพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำจะมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้าและจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียนทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆ คือขนม จากร้านในหมู่บ้านซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย
จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนบ้านคลองคล้า จึงจัดทำโครงการอิ่มท้องน้องสมองใสเพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านคลองคล้ามีคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและสมอง ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้สู่การเป็นเด็กที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและมีสติปัญญาฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีอาหารเช้ารับประทานทุกคน

2 2.เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีฐานะยากจนได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน

3 3. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดี สมองดี มีผลการเรียนดีขึ้น
  • ร้อยบะของนักเรียนที่ผู้ปกครองละเลย ผู้ปกครองไปทำงานไกลไม่สามารถทำอาหารเช้าให้นักเรียนได้ ได้มีอาหารเช้ารับประทานทุกคน
  • ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารเช้ามีผลการเรียนดีขึ้น
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง
  4. แต่งตั้งคณะทำงาน/ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. สำรวจวัสดุอุปกรณ์และสถานที่
  6. จัดซื้ออุปกรณ์ในการประกอบอาหารเพิ่มเติม
  7. กำหนดภาระงาน
  8. ดำเนินตามแผนที่วางไว้
    • การประกอบอาหาร (ครู/ผู้ปกครองจิตอาสา)
    • จัดอาหาร (ครู/ผู้ปกครองจิตอาสา)
    • รับประทานอาหาร (นักเรียน)
    • ทำความสะอาด (นักเรียน, ครู, ผู้มีจิตอาสา)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงและมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
  2. นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์
  3. นักเรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีผลการเรียนที่ดีขึ้น
  4. ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ได้ร่วมสนับสนุนช่วยเหลือในการปรุงอาหารเช้าอย่างต่อเนื่อง
  5. ผู้ปกครอง ครู นักเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2560 10:43 น.