กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
รหัสโครงการ 66 – L2978 – 3 – 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสมะห์ หะยีรอฮิม
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิรัตน์ จันทร์งาม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.78,101.053place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ส.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 285 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากในโรงเรียนเพราะการที่เด็กและเยาวชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจนั้นเป็นสิทธิขั้นต้นของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันเด็กมีการบริโภคขนมคบเคี้ยวกันอย่างแพร่หลาย ขนมแต่ละชนิดมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก โดยเฉพาะลูกกวาด ลูกอม ซึ่งมีสีสันสวยงาม ทำให้เด็กชอบซื้อมากินอยู่เสมอ หากนักเรียนกินลูกอม และขนมขบเคี้ยวแล้วไม่รักษาดูแล สุขภาพในช่องปาก ไม่มีการแปรงฟันที่ถูกวิธีอาจส่งผลทำให้สุขภาพในช่องปากเสีย ฟันผุ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการแปรงอย่างถูกวิธี ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องคือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ถ้าเด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ฟันผุ ส่งผลต่อการพัฒนาการ และโภชนาการของเด็ก สุดท้ายส่งผลต่อการเรียนของเด็กในอนาคต จากการสำรวจสภาวะการเกิดโรคฟันผุในโรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์มิตรภาพที่ 148 ปี พ.ศ. 2565 พบว่า นักเรียนมีฟันแท้ผุร้อยละ 17.34 ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยม ร้อยละ 10.38  ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ อันเนื่องมาจากการขาดการแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพ ความครอบคลุมในการดำเนินกิจกรรมทั้งในส่วนของการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน ขาดความดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองในเรื่องทันตสุขภาพ การลดบริโภคอาหารหวาน และการจัดการเรียนรู้ทางทันตสุขภาพ ทางคณะครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์มิตรภาพที่ 148 ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำกิจกรรม ส่งเสริมการแปรงฟันในโรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์มิตรภาพที่ 148 ขึ้น โดยจัดทำโครงการและดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุน ให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักษาสุขภาพปากและฟันของตนเองจนเกิดเป็นนิสัยในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก.

 

90.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ในการ ดูแลสุขภาพฟันน้ำนมให้ดีเพื่อรองรับฟันแท้ที่กำลังจะงอกของเด็ก รวมถึงฟันแท้ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

 

80.00
3 3. เพื่อสร้างสุขนิสัยให้นักเรียนแปรงฟันที่โรงเรียนวันละ 1 ครั้งและมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงวัย

 

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

5.1 ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทันตสุขภาพแต่ละห้องเรียน 2. รวบรวมข้อมูลสุขภาพฟันนักเรียนทุกคน 3. ประชุมคณะทำงานหาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพฟัน 5.2 ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่1 อบรมจัดให้ความรู้กับนักเรียนอนุบาล 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องสุขภาพช่องปากในวัยเรียน กิจกรรมที่ 2 อบรมจัดให้ความรู้กับผู้ปกครองนักเรียนอนุบาล 2 ถึง ประถมศึกษาปีที่3 เรื่องการดูแลสุขภาพฟัน
กิจกรรมที่ 3 กลุ่มนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีหน้าเสาธง กิจกรรมที่ 4 นักเรียนทุกคนแปรงฟันอย่างถูกวิธีตามช่วงวัย 5.3 ขั้นประเมินผล ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดูแลแนะนำการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงวัย
  3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ