กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ 66-L1468-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธนพร ฉีดเนียม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตนา ผลเงาะ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 13,325.00
รวมงบประมาณ 13,325.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร หรือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอาจส่งผลเสีย ทั้งทางด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และตามมาด้วยผลกระทบในระยะยาว โดยองค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงปัญหานี้และกำหนดให้การลดอัตราการคลอดในผู้หญิงอายุ 15 – 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทุกประเทศต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ 2573 ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรส่วนใหญ่เกิดจากเยาวชนไม่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ขาดทักษะชีวิต ไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจของตนเอง และสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือความเจริญของเทคโนโลยี สื่อที่ทันสมัย ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ประกอบกับระบบขัดเกลาทางสังคมระดับครอบครัวอ่อนศักยภาพลง เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ และคาดหวังว่าระบบการขัดเกลาของสถาบันการศึกษาสามารถททำหน้าที่ทดแทนครอบครัวได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วครอบครัวยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องดูแลและขัดเกลาบุตรหลานและปัญหาดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ ประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตัวเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง มีน้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม และยังมีผลกระทบต่อการออกจากดรงเรียนกลางคัน รวมทั้งการไม่พร้อมต่อการเลี้ยงลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นแรงงานราคาถูก ครอบครัวแตกแยก และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย จากปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นนในเด็กและเยาวชนในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบบางเป้า จึงได้จัดโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ประจำปี 2566 ขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นไทย ให้รู้จักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคที่มาจากเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
0.00
2 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส เป็นต้น
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพสสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส เป็นต้น
0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะชีวิตในการป้องกันตังเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะชีวิตในการป้องกันตังเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 0 13,325.00 -
รวม 0 13,325.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพสสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส เป็นต้น
  3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะชีวิตในการป้องกันตังเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2566 16:22 น.