กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2,3,5,7 ตำบลบางเป้า
รหัสโครงการ 66-L1468-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 17,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธนพร ฉีดเนียม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตนา ผลเงาะ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 17,525.00
รวมงบประมาณ 17,525.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 77 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้องรังซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แต่ความชุกและอุบัติการณ์กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำได้ หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีทั้งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะและความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุที่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังการรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต ให้ใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ที่รับการรักษาในคลินิกโรคเรื้องรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
  1. ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้
  1. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 0 17,525.00 -
รวม 0 17,525.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพสสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส เป็นต้น
  3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะชีวิตในการป้องกันตังเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2566 09:06 น.