กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำภูรา
รหัสโครงการ 66-L8330-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลำภูรา
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิทย์ ดาวังปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ตั้งแต่เกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ะลคนให้เต็มตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและ  วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้อาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุรค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข และเหมาะสมตามวัยด้วยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน การพัฒนาเด็กปฐมวัยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคมและวัฒนธรรมไทย ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่หลากหลาย เด็กได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เหมาะสมดับวัย   แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่เน้นเรื่องวัตถุนิยมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องประกอบสัมมาอาชีพไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูและได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเลี้ยงดู ดังนั้นสมาร์ทโฟนจึงได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็ก หรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กโยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติมโตและพัมนาการทางสมองเจริญเติบโตสูงสุด การใช้สมาร์ทโฟนในเด็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) และความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้ โดยเฉพาะการพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ไม่เป็นตามวัย ซึ่งจากการสังเกตนักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำภูรา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรงคล่องแคล่วเป็นไปตามวัยถึงร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนระดับปฐมวัยทั้งหมด อันเนื่องมาจากการใช้สมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานในช่วงปิดภาคเรียน และการขาดการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำงานบ้าน การหยิบจับสิ่งของ การปั้น การร้อยวัสดุ การฉีก ตัดกระดาษ การรระบายสี การคีบ การตัก การตวง เป็นต้น ซึ่งผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ไม่สังเกตเห็นความบกพร่องของทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย และเด็กยังไม่ได้รับการส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างถูกวิธีจากครอบครัว   ดังนั้น โรงเรียนบ้านลำภูรา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยและการส่งเสริมให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัมนาการที่ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย อันจัส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย 2. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนระดัยปฐมวัยในโรงเรียนบ้านลำภูรา เห็นความสำคัญมีความรู้และสามารถช่วยส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยได้
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  2. นักเรียนปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำภูราร้อยละ 80 มีผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย (การใช้กล้ามเนื่้อมัดเล็ก) อยู่ในระดับดี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ให้กับผู้ปกครอง นักเรียน
  2. กิจกรรมฐานการสาธิตการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย 4 ฐาน   - ฐานการปั้นดินน้ำมัน   - ฐานการร้อยลูกปัด   - ฐานการฉีก ตัด ปะกระดาษ   - ฐานการระบายสีภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำภูราได้รับการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  2. ผู้ปกครองนักเรียนปฐมวัยโรงเรียนบ้านลำภูราเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะให้กับบุตรหลานเมื่ออยู่ที่บ้านได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2566 13:49 น.