กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กเล็กและก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป
รหัสโครงการ 13/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ้านอุเป
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 สิงหาคม 2566 - 21 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 27,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาตีเมาะ มูนอมานิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กในช่วงแรกเกิด 0-6 ขวบ ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม (รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมรอบตัวเด็ก) ซึ่งเด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอจะทำให้มีโภชนาการที่ดีนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกินอาหารที่ร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กช่วงวัยนี้คือ มีภาวะภาวะโภชนาการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สมวัยเท่าที่ควรตามหลักโภชนาการของกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง(อันเนื่องมาจากโลกปัจจุบันผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้าน กลายเป็นตัวปัญหาโดยปริยายในการให้นมบุตร)จึงทำให้การให้อาหารแก่เด็กหรือวัยทารกอาจเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการของกรมการกระทรวงสาธารณสุข
จากการประเมินสุขภาพเด็กและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป จำนวน 40 คน ในปีการศึกษา 2566 นี้ โดยการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเด็ก ซึ่งมีเด็กที่มีภาวะโภชนาการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมหรือไมสมวัยเท่าที่ควร ทั้งสิ้น จำนวน 5 คน คือ เด็กที่มีภาวะโภชนาการเจริญเติบโตเกิน(อ้วน) 3 คน เด็กที่มีทุพโภชนาการ (ผอม) 2 คน และเด็กที่ไม่สมส่วน(เตี้ย)1 คน
      ด้วยเหตุผลดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง ได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและก่อนวัยเรียนในศูนย์ฯเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตทางสมองและทางร่างกายเหมาะสมตามวัย จึงได้จัดทำ”โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป”ให้มีความเหมาะสมตามวัยให้เป็นไปตามลำดับขั้นพัฒนาการที่เจริญเติบโตที่ดีตามหลักกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดขอสนับสนุนกองทุนฯเพื่อจัดหาทดแทน
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กที่พ่อแม่นำมาฝาก ทุก 3 เดือน
    1. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
    2. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
    3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมโภชนาการเด็ก ดังนี้
    • ความสำคัญของอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วนและอาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม

- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือเฉื่อยชา - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน             - ประโยชน์ที่ได้รับในแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน             - การนำไปปฏิบัติในแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทั้งในศูนย์ฯและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง 6. ครูและผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 6.1 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ครูและผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือเฉื่อยชา โดยการจัดกิจกรรมออกกำลังประกอบเพลงหรือวิดีโอในการเต้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจกระตือรือร้นในการเต้นตามจังหวะเพลงประกอบภาพ และออกไปเล่นในสนามก่อนรับประทานอาหารในช่วงเช้าอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า และทุกครั้งในช่วงของการรับประทานอาหารกลางวันจะกระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้ให้มากเพิ่มขึ้น(ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ) - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามอิสระอย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ)

          6.2 ที่บ้าน       - พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีนนาที (ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ) 7. จัดหานม ปลากระป๋องและไข่เพิ่มเติม ในเด็กที่มีภาวะผอม เตี้ย เพื่อให้มีภาวะโภชนาการปกติ 8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง

  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดขอสนับสนุนกองทุนฯเพื่อจัดหาทดแทน
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กที่พ่อแม่นำมาฝาก ทุก 3 เดือน
    1. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
    2. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
    3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมโภชนาการเด็ก ดังนี้
    • ความสำคัญของอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วนและอาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม

- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือเฉื่อยชา - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน             - ประโยชน์ที่ได้รับในแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน             - การนำไปปฏิบัติในแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทั้งในศูนย์ฯและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง 6. ครูและผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 6.1 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ครูและผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือเฉื่อยชา โดยการจัดกิจกรรมออกกำลังประกอบเพลงหรือวิดีโอในการเต้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจกระตือรือร้นในการเต้นตามจังหวะเพลงประกอบภาพ และออกไปเล่นในสนามก่อนรับประทานอาหารในช่วงเช้าอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า และทุกครั้งในช่วงของการรับประทานอาหารกลางวันจะกระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้ให้มากเพิ่มขึ้น(ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ) - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามอิสระอย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ)

          6.2 ที่บ้าน       - พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีนนาที (ตามข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานรพ.สต.บ้านลือมุ) 7. จัดหานม ปลากระป๋องและไข่เพิ่มเติม ในเด็กที่มีภาวะผอม เตี้ย เพื่อให้มีภาวะโภชนาการปกติ 8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1-เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป มีภาวะโภชนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
2-ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือช่วยกันดูแลบุตรหลานในด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
3-เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเปทุกคนมีภาวะโภชนาการในระดับขั้นดีเยี่ยมต่อไป 4-เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุเป มีภาวะโภชนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 11:42 น.