กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ตามหลักศาสนาอิสลาม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ตามหลักศาสนาอิสลาม
รหัสโครงการ 66-L3054-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการประจำมัสยิดตายุลอิสลาม
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2566 - 27 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 56,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮามะ เปาะกือนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“การตั้งครรภ์” หากเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทั้งทางด้านสรีระร่างกาย วัยวุฒิ และคุณวุฒิ ก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสร้างความสุขให้กับครอบครัวของผู้หญิงนั้นๆ แต่ถ้าการตั้งครรภ์เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ไม่ประสงค์จะตั้งครรภ์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก็คงเป็นเรื่องที่น่าทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น “เด็กหญิง” หรือ “วัยรุ่น” ซึ่งมีอายุระหว่าง 12 - ๑๙ ปีก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัวเด็กเองและครอบครัว เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นระยะที่ถือได้ว่าหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมากทำให้เกิดภาวะวิกฤติตามวุฒิภาวะ(Developmental Crisis) ซึ่งทำให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นรู้สึกขัดแย้งระหว่างความต้องการการเป็นอิสระกับความต้องการการพึ่งพาผู้อื่น ความขัดแย้งระหว่างบทบาทความเป็นวัยรุ่นกับการเป็นมารดาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ร่วมด้วย (Emotional Change) มีการแสดงออกทางด้านอารมณ์ไม่คงที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น เกิดความกลัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายหลายอย่างด้วยกัน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าผลกระทบด้านสุขภาพจากการตั้งครรภ์และการคลอดจัดเป็นสาเหตุลำดับที่ 2 ที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิต อาทิเช่น ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง ครรภ์เป็นพิษ ภาวะซึมเศร้า และการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ทั้งสิ้น อีกทั้งการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือตั้งครรภ์ไม่พร้อมยังส่งผลกระทบต่อการเรียน การประกอบอาชีพซึ่งอาจมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ สิ่งเหล่านี้กระทบกับคุณภาพชีวิตของบุตรโดยตรง เด็กอาจไม่ได้เรียนหนังสือหรือเรียนไม่จบ หรืออาจนำไปสู่การเลือกเดินในทางที่ผิด เช่น กระทำผิดกฎหมาย หันพึ่งยาเสพติด และกลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต การวางแผนครอบครัว (Family planning) คือ การวางแผนสำหรับคู่ชีวิตเพื่อการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ ภายใต้ความพร้อมด้านสังคม เศรษฐกิจ ของคนภายในครอบครัว ซึ่งการวางแผนครอบครัวนั้นจะครอบคลุมถึงปัจจัยหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น การตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การปรับตัวระหว่างคนสองคน การตัดสินใจมีบุตร ดังนั้นการวางแผนครอบครัวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดให้เลือกใช้แต่ก็ไม่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้หญิงควรตระหนักและเรียนรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การวางแผนการตั้งครรภ์ ความต้องการบุตรในครรภ์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและหลักปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่ระบุไว้ใน อัลกุรอาน และที่ปรากฏใน ฮาดิส ของท่าน รอศูลุลลอฮ เรื่องการสมรสหรือนิกาหฺ นั่นเอง ดังนั้น คณะกรรมการประจำมัสยิดตายุลอิสลาม ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ตามหลักศาสนาอิสลามขึ้น โดยส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้เรียนรู้การวางแผนครอบครัว การครองตน การปฎิบัติต่อกัน บทบาทหน้าที่ของตนในครอบครัว และการเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจเพื่อเป็นการสร้างต้นทุนทางครอบครัว อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวในชุมชนเสริมสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง และลดปัญหาทางสังคมที่จะตามมา อันจักเป็นการพัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในการวางแผนครอบครัว และการเตรียมความพร้อมก่อนการสร้างครอบครัว ตามหลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลาม

เยาวชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนครอบครัว และการเตรียมความพร้อมก่อนการสร้างครอบครัว ตามหลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลามได้ถูกต้อง

2 เพื่อให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการวางแผนครอบครัวได้ถูกต้อง

เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการวางแผนครอบครัวได้อย่างถูกต้อง

3 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมรายใหม่ขึ้นมาอีก หรือลดจำนวนการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

อัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีจำนวนลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 17:10 น.