กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการระบาดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2502-5-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 32,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ แอนนา เจ๊ะระวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก    เป็นโรคติดต่อโดยยุ่งลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดต่อตามสถานการณ์      โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่าขณะนี้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2566 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-25 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 27,377 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 41.37 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 23 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งพบผู้ป่วย 9,736 ราย อัตราป่วย 17.46 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 7 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09 จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกว่า ควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 18 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 473 ราย เสียชีวิต 1 ราย ในส่วนของพื้นที่ระบาดมีรายงานผู้ป่วย      โรคไข้เลือดออกเกินกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในช่วง 4 สัปดาห์ล่าสุด และมีการระบาดต่อเนื่องเกินกว่า 28 วัน จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยี่งอ เมืองนราธิวาส ระแงะ รือเสาะ สุไหงโก-ลก และเจาะไอร้อง โดยให้ดำเนินมาตรการควบคุมโรคเช่นเดียวกับเชื้อไวรัสซิกามาตรการ 3-3-1 และ 1-3-7 อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์อีกทั้งได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินหรือ EOC แล้ว 3 อำเภอคืออำเภอเมืองนราธิวาส สุไหงโก-ลก และเจาะไอร้อง เนื่องจากพบตำบลที่เป็นพื้นที่ระบาดตั้งแต่ร้อยละ 25 ของจำนวนตำบลในอำเภอ กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากให้ แต่ละบ้านกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามมาตรการ 3 เก็บ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ ทุกสัปดาห์รอบบ้านที่มีน้ำขัง ถ้ามีลูกน้ำยุงลายให้คว่ำภาชนะเพื่อตัดวงจรการมีชีวิตของยุง และขารองตู้แจกันดอกไม้ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามหนังสือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.9.33/ว5330  วันที่ 7 สิงหาคม 2566 เรื่อง ขอความร่วมมือในการจัดทำโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ตำบลกาลิซา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่าในพื้นที่ตำบลกาลิซา    เดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม 24 ราย และปัจจุบันเดือนสิงหาคม 5 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการระบาดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิด ความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด และลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด และอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 80

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

4 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ลดลง 2 จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ลดลง 3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมมือในการป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก 4 สามารถเฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2566 15:29 น.