กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L8402-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขัน
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,953.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลิสา ผลดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค มีหลายโรค โดยโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคชิคุกุนยา โรคไข้ซิการ์ เป็นต้น ปัจจุบัน โรคไข้เลือดออกมีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอำเภอ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566  (1 ม.ค.- 1 ก.พ.) พบผู้ป่วย 2,683 ราย อัตราป่วย 4.05 ประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี (11.63%) 15-24 ปี (7.32%) 0-4 ปี (5.23%) ตามลำดับ (กรมควบคุมโรค, 2566) จังหวัดสงขลา ปี 2566 สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มค - 6 มค 66) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.85 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุ ที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 3.02 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ 10-14 ปี (อัตราป่วย 2) และกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (อัตราป่วย 1.02) ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรสูงสุดคืออำเภอสทิงพระ อัตราป่วยเท่ากับ 4.09 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาบางกล่ำ และควนเนียง ตามลำดับ (สสจ.สงขลา, ๒๕๖6)
      ในปี 2566 อำเภอรัตภูมิ มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 14.55 (สสจ.สงขลา,10 มี.ค. ๒๕๖6) สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขันมีการคาดการณ์สถานการณ์การระบาดของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขันเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดภัย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้อสม. ที่เป็นแกนนำหลักของชุมชนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค เพื่อลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่บ้าน( HI )ไม่เกินร้อยละ 5 และในสถานที่สาธารณะอื่น ( CI ) เป็น 0

5.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน มากกว่าร้อยละ ๒๐

20.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการ ชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์โรคติดต่อที่เกิดจากยุงในปัจจุบัน แก่เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขันทั้งหาแนวทางควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. รณรงค์สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) ในพื้นที่ทุกหลังคาเรือนโดย อสม.และให้ความรู้กับการกำจัดและควบคุมลูกน้ำยุงลายในทุกครัวเรือน พร้อมทั้งแจกทรายทีมีฟอสกำจัดลูกน้ำ สำหรับน้ำใช้ในครัวเรือน  ทุกหลังคาเรือน
  3. ประสานงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ รณรงค์พ่นหมอกควันในชุมชน กำจัดยุงในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควนขันทั้งสิ้น ๕ หมู่บ้าน (หมู่ที่ 2, 3, 4, 8, และ ๑2 ต.คูหาใต้)
  4. กรณีพบผู้ป่วยและผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออกชุมชน เร่งดำเนินการควบคุมและสอบสวนโรค โดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้านผู้ป่วยหรือสงสัยป่วยและบ้านใกล้เคียงในรัศมี ๑๐๐ เมตร รวมทั้งค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนสเปรย์กำจัดยุงและโลชั่นทากันยุงและทรายที่มีฟอสให้กับบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียง รัศมี ๑๐๐ เมตร เพื่อกำจัดยุงในบ้านและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  5. รณรงค์ เผยแพร่ความรู้ โดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ      ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชน
  6. อบรมแกนนำ (อสม.) เฝ้าระวัง ป้องกัน โรคติดต่อที่เกิดจากยุง จำนวน ๘1 คน
  7. จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชน วัดและโรงเรียน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุง จำนวน ๒ ครั้ง                  8. เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โดย อสม. แกนนำเฝ้าระวัง ในชุมชน ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ Line หรือ Messenger ฯลฯ
  8. รณรงค์การใช้สมุนไพรไล่ยุงในครัวเรือน เช่น ตะไคร้หอม ต้นสะเดา ต้นโหระพา เป็นต้น
  9. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกิดความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพในการดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การ ควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน ๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๓. ประชาชนมีความรู้ สามารถควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในครัวเรือนและชุมชนได้ ๔. แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนพื้นที่ ได้รับการควบคุมละกำจัดอย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2566 08:36 น.