กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8402-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขัน
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ลิสา ผลดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากระยะตั้งครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญต่อการให้กำเนิดทารก ให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา แม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับการฝากครรภ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์      หญิงตั้งครรภ์อาจจะมีภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันเวลา
    ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขัน ยังมีอีกหลายปัญหา  ที่ควรต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน และหญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนขันได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านควนขัน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น      เพื่อส่งเสริมโภชนาการแม่ และเด็กเชิงรุก เน้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วขึ้น เป็นการดูแลกลุ่มเสี่ยงในการตั้งครรภ์  ลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมโภชนาการให้มารดา และทารกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่ และเด็กได้มากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงมีครรภ์ มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 60

60.00
2 เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 60

60.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่รพ.สต.ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน

มารดา และทารกหลังคลอด ได้รับการเยี่ยมติดตาม  ครบ ๓ ครั้ง ร้อยละ ๖๕

65.00
4 เพื่อติดตามสุขภาพมารดา และทารกหลังคลอด และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด

หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม อสม. ชี้แจงขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ โดยให้ อสม. รายงาน และติดตามหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้มารับการฝากครรภ์ทันที
  2. จัดทำแผนโครงการ และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และขออนุมัติโครงการ
  3. ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. และผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์รายใหม่ และครอบครัวที่มาฝากครรภ์ที่รพ.สต. (โรงเรียนพ่อแม่)
  5. รณรงค์ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพ นมแก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตามการประเมินความเสี่ยงในเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพมารดา
  6. ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาตามนัดโดยติดตามทางโทรศัพท์และหากไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ให้เยี่ยม ที่บ้านต่อไป
  7. เยี่ยมมารดา และทารกหลังคลอดในเขตรับผิดชอบทุกราย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.
  8. ติดตามผลการดำเนินงานและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และทักษะการมีกิจกรรมทางกายและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสม
  2. น้ำหนักตัวของทารกแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
  4. ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2566 10:07 น.