กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L3071-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูณีดา ลาเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3591 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในทุกฤดูกาลแต่จะพบมาในช่วงฤดูฝน ซึ่งความรุนแรงของโรคทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคโดยภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยของเราได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเริ่มต้นทำที่บ้านของตนเองก่อน ให้ทุกคนถือว่าการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นภารกิจประจำวันของทุกบ้าน จากนั้นขยายไปสู่ชุมชน และสถานที่สาธารณะส่วนรวม เช่น โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานที่ทำงาน ตามมาตรการวิธี 5 ป 1 ข (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ และขัดไข่ยุงในภาชนะ) เพื่อเป็นการลดจำนวนของยุงลายในธรรมชาติให้น้อยลง โดยการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ การพ่นหมอกควัน จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการกำจัดลูกน้ำยุงลายไม่ให้แพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน และสถานที่สาธารณะส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

80.00 60.00
2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

80.00 90.00
3 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

70.00 80.00
4 เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดน้อยลง

80.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,550.00 3 34,550.00
15 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 10,250.00 10,250.00
15 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมแจกทรายอะเบท 0 11,000.00 11,000.00
15 ส.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 13,300.00 13,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อหรือทำการขยายพันธุ์ต่อไป ได้อีก
  2. ทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดน้อยลง 3.เป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 00:00 น.