กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงตำบลมะกรูด ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2985-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนมะกรูด โรงพยาบาลโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมละ บาราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2566 31 ธ.ค. 2566 19,980.00
รวมงบประมาณ 19,980.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย มักพบโรคในวัย 50 ปี ขึ้นไป โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่า อะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจัยดังกล่าว คือ รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมาก แต่รับประทานผักผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ออกกำลังกายน้อย และโรคอ้วน การสูบบุหรี่และดื่มสุราจัดอาจมีผลต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยทำงาน จึงมักพบโรคในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง และสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ดังนั้นการให้ความรู้ การลดปัจจัยเสี่ยงสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงการคัดกรองโดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT)ในประชาชน ซึ่งถ้าพบสามารถทำการรักษาให้หาย หรือลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ศูนย์สุขภาพชุมชนมะกรูด โรงพยาบาลโคกโพธิ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก ในประชาชนอายุ 50 – 70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงตำบลมะกรูด ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แก่ประชาชน
  1. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
90.00
2 2. เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่ประชาชน
  1. คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการทุกคน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 19,980.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 1. ให้ความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้แก่ประชาชนในชุมชน 100 16,560.00 -
1 ก.ย. 66 2. ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT 100 3,420.00 -
  1. ขออนุมัติการดำเนินงานตามโครงการฯและจัดซื้อจัดจ้าง
  2. ติดต่อประสานงานและจัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
  4. ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการฯ ดังนี้
        4.1 กิจกรรมที่ 1.ให้ความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้แก่ประชาชนในชุมชน
        4.2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT) ให้ประชาชนอายุ 50 – 70 ปีในชุมชนมะกรูด โรงพยาบาลโคกโพธิ์ และแจ้งผลการคัดกรองให้ประชาชนทราบ
    ***หมายเหตุ ผลการคัดกรองผิดปกติส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานีเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนประชาชนได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  2. ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองทำให้ลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากในเขต ชุมชนมะกรูด โรงพยาบาลโคกโพธิ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 16:23 น.