กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กตำบลมะกรูด ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2985-01-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนมะกรูด โรงพยาบาลโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,510.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมละ บาราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2566 31 ธ.ค. 2566 30,510.00
รวมงบประมาณ 30,510.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย
จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กในตำบลมะกรูดอายุ 6 เดือน – 5 ปี ในปีงบประมาณ2565 คัดกรองเด็กทั้งหมดจำนวน69คนพบว่าเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง 24 คน คิดเป็น 34.8 เปอร์เซ็น โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ทั้งนี้การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6 - 12 เดือน 3 - 5 ปี ดังนั้นทางศูนย์สุขภาพชุมชนมะกรูดได้เสนอจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก เพื่อกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 6 - 12 เดือน และ 3 - 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
  1. เด็กช่วงอายุ 6 - 12 เดือน และ 3 - 5 ปี ในโครงการได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางทุกคน
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 2. ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 3. ให้ยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กเป็นรายคน ทุกสัปดาห์ๆละ 1 ครั้ง 50 0.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 30,510.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางในเด็ก แก่พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก 50 10,260.00 -
1 ก.ย. 66 4. ให้อาหารเสริมธาตุเหล็ก 50 20,250.00 -
  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางในเด็กแก่ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก
  2. ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางกลุ่มเป้าหมาย โดยการเจาะ HCT (ดูความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง)     3. ให้ยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กเป็นรายคนทุกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
        4. กรณีตรวจคัดกรองแล้วพบว่าเด็กมีภาวะโลหิตจาง จนท.สาธารณสุขจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กในการรักษาตาม แนวทางการรักษาตามเกณฑ์ที่กำหนด อย่างน้อย 3 เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กตำบลมะกรูด ช่วงอายุ 6 ด. – 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 16:30 น.