กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 60-L7452-1-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2559 - 31 ธันวาคม 2559
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 431,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์บุญพงษ์มณี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะซากีอีซอ ผู้อำนวยการส่วนบริการสาธารณสุขฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่เทศบาลนครยะลาได้ออกเทศบัญญัติเรื่องการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2544 ขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครยะลาทั้งนี้จำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและกำจัดยุงลายให้ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่โดยให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคารสถานที่ใดๆ ดูแลมิให้มีแหล่งน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอันเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกอาศัยอำนาจความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบันและมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดวิธีการเพื่อการปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ นั้น
จากการดำเนินงานตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2559 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จำนวน 11,873 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 18.15 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.01 ต่อแสนประชากร ในจังหวัดยะลามีจำนวน201 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 44.87 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราการตาย 0.50 ต่อแสนประชากร ในส่วนของเทศบาลนครยะลา ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 150 ราย รายคิดเป็นอัตราป่วย 97.5 ต่อแสนประชากร(เกณฑ์ ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร ) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต จากการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุเกิดจากประชาชนยังขาดความตระหนักในการป้องกันและ ไม่ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยดูจากผลการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย เดือน กันยายน 2559 ผลการประเมินพบลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนร้อยละ 22.90 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 ) ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนจำนวน 34 โรงเรียน พบว่า ค่า CI > 0 จำนวน 19 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ56 (เกณฑ์ค่า CI = 0) จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าในพื้นที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการควบคุมโรคเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้นถ้าไม่ได้รับการควบคุมโรคจะมีผลต่อกระทบสุขภาพประชาชน อาจถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องจัดทำ โครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครยะลาเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน ประชาชน ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเป็นการควบคุมโรคได้อย่างจริงจัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอนหลัก ขั้นตอนที่ 1จัดเตรียมเอกสาร รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้จัดทำโครงการ แผนปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 2ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน ประชาชนพร้อมจัดทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่ชุมชน ขั้นตอนที่ 3ออกปฏิบัติการรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก ร่วมกับเจ้าหน้าทีสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน และประชาชน โดยการสำรวจลูกน้ำยุงลายกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่, แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแจกสื่อประสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 4 รายงานผลปฏิบัติงาน ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 5 การติดตามผลการดำเนินงานเป็นไปตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผลประโยชน์เบื้องต้น ประชาชนทุกภาคส่วนมีจิตสำนึกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน ประชาชน ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมโรคได้
2.ผลประโยชน์ขั้นกลาง ประชาชนมีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครยะลา ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร 3.ผลประโยชน์ระยะยาว ประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลามีสุขภาพดี และรัฐได้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2560 10:18 น.