กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สุงอายุและผู้สูงอายุภ่าวะพึ่งพิงในเขตตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-l1527-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยายาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2017 - 31 สิงหาคม 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2018
งบประมาณ 22,565.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 560 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุ จากการสำรวจสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2558 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 15.9 และคาดว่าฝนปี 2573 จะเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ คือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ปัญหาสุขภาวะในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยคือ โรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูง รวมถึงการสูญเสียฟัน โดยผู้สูงอายุที่มีฟันน้อยกว่า 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบ พบร้อยละ 37.4 จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากประเทศไทยปี 2555 ด้านการมีฟันที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ช่วงอายุ 35-44 ปี พบร้อยละ 97 ช่วงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 57.8 และช่วงอายุ 80-89 ปี พบร้อยละ 23.5 จัเห็นได้ว่าช่วงอายุมากขึ้นแนวโน้มการสูญเสียฟันเพิ่มมากขึ้น การมีฟันน้อยกว่า 4 คู่สบจะลดทอนประสิทธิภาพการบดเคั้ยวอาาหาร วึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้เผยประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ 7 ประเด็น ได้แก่ 1)การสูญเสียฟันและปัญหาการใส่ฟัน พบว่าการสูญเสียฟันร้อยละ 94 ในจำนวนนี้เป็นการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 10 2)ปัญหกาฟันผุและรากฟันผุ พบว่าฟันผุร้อยละ 96 และรากฟันผุร้อยละ21 3)โรคปริทันต์ โดยพบโรคปริทันต์ระยะรุนแรงร้อยละ 68 4)แผลและมะเร็งช่องปาก พบ 4-5 คนต่่อประชากรแสนคน โดยจะพบส่วนใหญ่ในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ 5) น้ำลายแห้ง 6)ฟันสึก 7)สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565 ตือ 1)ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดีและมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม คือ มีฟันอย่างน้อย 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบฟันหลัง 2) มีนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อย่างน้อย 5 ใน 7 ประเด็น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้แก่ กลุ่มตดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง รวมถึงกลุ่มวัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุประจำปีของจังหวัดตรัง พบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มการสูญเสียฟันสูงเมื่อเทียบกับการได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการได้รับการใส่ฟัน ผลการสำรวจ ปี 2560 พบว่าผู้สูงอายุมีฟันแท้ในช่องปากใช้งานได้ 20 ซี่ เแลี่ยร้อยละ 43.7 ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้งานได้ 4 คู่ขึ้นไป ร้อยละ 72.4 ซึ่งสาเหตุการสูญเสียฟันส่วนใหญ่มาจากโรคฟันผุและปริทันต์ นอกจากนี้ปัญหาที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงถึงชีวิต คือการป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก โดยผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากปี 2558 พบ 144 คน ปี 2559 พบ 161 คน และปี 2560 พบ 189 คน จะเห็นว่ามีแนวโน้มสูงขึ้ยเรื่อยๆและมะเร็งช่องปากพบมากติด 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบได้ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจสภาวะช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดตรัง ปี 2560 พบผู้สูงอายุมีฟันแท้ในช่องปากใช้งานได้ 20 ซี่ เฉลี่ยร้อยละ 44.8 ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้งานได้ 4 คู้ขี้นไปร้อยละ 68 ซึ่งมีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาสุขภาพช่องปากต่างๆ เช่น ปริทันต์อักเสบ ฟันผุ น้ำลายแห้ง รวมถึงมะเร็งช่องปาก ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากโดย ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากปี 2558 พบ 27คนปี 2559 พบ 30 คน และปี 2560 พบ36 คน โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีดังนั้นการดูแลเชิงส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูจึงเป็นสิ่งสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เยี่ยมบ้านได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทันตสุขศึกษา

2 2.เพื่อติดตามและฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง(การแปรงฟันที่ถูกวิธี,การใช้ไหมขัดฟัน)

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการติดตามและฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง (การแปรงฟันที่ถูกวิธี,การใช้ไหมขัดฟัน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ 1.1สำรวจสภาวะทันตสุขภาพและคัดกรองมะเร็งช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ 1.2ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชมรม 1.3สาธิตการแปรงฟันแก่ผู้สุงอายุในชมรม 1.4ทาฟลูออไรด์วานิชแก่ผู้สูงอายุในชมรม
กิจกรรมที่ 2 ออกพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงแบบภาคีเครือข่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธาณสุข 2.1ให้ความรู้ก้านทันตสุขภาพแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง 2.2สาธิตการแปรงฟันแก่ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง กิจกรรมที่ 2 ออกพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สุงอายุภาวะพึ่งพิงแบบภาคีเครือข่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้นสามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองได้ 2.กลุ่มผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงและได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2017 11:22 น.