กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบาเจาะโมเดล ต้นแบบการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน ต.บาเจาะ
รหัสโครงการ 66-L4127-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบาเจาะโมเดลตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสนา หะยีเจะนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางรอสื่อน๊ะ กามุง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรียถือเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย มีการระบาดมากในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ จังหวัดที่พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียสูงสุด 10 อันดับแรก คือ ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง ยะลา ชุมพร และตราด พบผู้ป่วยรวมทั้งสิน 9,255 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.140 ของผู้ป่วยทั้งประเทศภายในระยะเวลา 7 เดือนของปีพ.ศ.2566 จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดชายแดนใต้ที่อยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าเขา มีสภาพอากาศค่อนข้างชุ่มชื้น มีฝนตกเกือบทุกช่วงเดือน สถานการณ์ไข้มาลาเรียในปี พ.ศ.2560 – 2565 ตรวจพบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียจำนวน 4,454 ราย โดยจะพบชนิดเชื้อมาลาเรียมากที่สุดมีสองชนิด คือ ฟัลซิปารั่ม และไวแวกซ์ จากการดำเนินการอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องในแต่ละพื้นที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์การลดพื้นที่การระบาดจากความร่วมมือทุกภาคส่วนที่บูรณาการรวมกัน ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ประสบปัญหาการระบาดไข้มาลาเรียในชุมชน จากสถิติการระบาดปี พ.ศ.2560 – 2565 พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดอยู่บ้าง บ้างหมู่บ้านของตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ส่งผลกระทบให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบมาก และสร้างความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ การดำเนินเลี้ยงชีพ และภาระการดูแลผู้ป่วยตลอดมา จากการดำเนินงานการกำจัดไข้มาลาเรียในพื้นที่ที่ผ่านมาทำให้โรคมาลาเรียในตำบลบาเจาะมีการลดลง ซึ่งจะให้เกิดความยั่งยืนนั้น เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ชุมชนและประชาชนเป็นศูนย์กลางการสร้างความร่วมมือ และขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ให้เกิดเป็นชุมชนพึ่งตนเอง สร้างความเป็นเจ้าของ โดยมีภาครัฐหนุนเสริม สนับสนุนให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปแบบ อันส่งผลให้การกำจัดไข้มาลาเรียลดน้อยลงหรือหมดไปจากพื้นที่ และสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน และแก้ไขปัญหาของโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ภายใต้บริบทของพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านความมั่นคงในปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

85.00 90.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลบาเจาะ

ร้อยละของการลดอัตราป่วยด้วยไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลบาเจาะ

85.00
3 เพื่อสร้างนวัตกรรม ชุมชน ต้นแบบในการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน

ร้อยละของการสร้างนวัตกรรม ชุมชน ต้นแบบในการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน

70.00
4 เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

ร้อยละของการสร้างความยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

65.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 จัดประชุมหาแนวทางและสรุปผลสำหรับ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินการกำจัดโรคมาลาเรีย (บาเจาะโมเดล) /อบรมการพ่นสารเคมีติดฝ่าผนังบ้าน(1 ส.ค. 2566-30 ต.ค. 2566) 7,080.00          
2 การดำเนินกิจกรรมรณรงค์การลงแขกเจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย โดย MP อสม. และทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บาเจาะ มีการดำเนินการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่(1 ส.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 12,920.00          
รวม 20,000.00
1 จัดประชุมหาแนวทางและสรุปผลสำหรับ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินการกำจัดโรคมาลาเรีย (บาเจาะโมเดล) /อบรมการพ่นสารเคมีติดฝ่าผนังบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 7,080.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 จัดประชุมหาแนวทางและสรุปผลสำหรับ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินการกำจัดโรคมาลาเรีย (บาเจาะโมเดล) /อบรมการพ่นสารเคมีติดฝ่าผนังบ้าน 50 7,080.00 -
2 การดำเนินกิจกรรมรณรงค์การลงแขกเจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย โดย MP อสม. และทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บาเจาะ มีการดำเนินการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 12,920.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 การดำเนินกิจกรรมรณรงค์การลงแขกเจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย โดย MP อสม. และทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บาเจาะ มีการดำเนินการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 70 12,920.00 -
  1. จัดประชุมหาแนวทางและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสำหรับ อสม. และแกนนำชุมชนในการดำเนินการกำจัดโรคมาลาเรีย (บาเจาะโมเดล)
    1. อบรมทีมพ่นสารเคมีติดฝ่าพนังบ้านโดยทีมของชุมชนในพื้นที่
    2. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์การลงแขกโดย MP อสม.และเจ้าหน้าที่ มีการลงดำเนินการเจาะเลือดค้นหากลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียในพื้นที่ 2.ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมาลาเรียอย่างครอบคลุม 3.สามารถสร้างภาคีเครือข่ายในการควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรียโดยชุมชน 4.ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในการดูแลตนเอง สร้างความเป็นเจ้าของ โดยเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ