กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L5227-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 25,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2566 18 ก.ย. 2566 25,500.00
รวมงบประมาณ 25,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธาณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝน โดยมีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียน ช่วงอายุ 10-14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ พื้นที่ตำบลระวะ เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 7 หมู่บ้าน จากรายงายการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 สิงหาคม 2566 จำนวน 71 ราย อัตราป่วย 119.43 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยมากกว่าปีที่ผ่านมามาในช่วงระยะเวลาเดียวกันกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุ 6-15 ปี พบอัตราป่วยสูงสุดในตำบลวัดสน ตำบลบ้านขาว ตำบลบ้านใหม่และตำบลระวะ ตามลำดับนั้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออกขึ้น โดยเน้นกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกเพิ่ม ร้อยละ 90

80.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่และป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 90

90.00 90.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00 50.00
4 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,500.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ไข้เลือดออก 0 7,500.00 -
1 ก.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 ควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 18,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขตตำบลระวะ 2.ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก 4.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในระบาดในชุมชนและโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2566 13:29 น.