กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน ระดับปฐมวัย
รหัสโครงการ 66-L8402-3-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกองอิฐ
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภัทวดี เรืองมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาประเทศเพราะการให้การศึกษาเป็นการพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญให้มีคุณภาพ จุดมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะการเริ่มพัฒนาไปตั้งแต่ยังเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 2 ปี จนถึง 6 ปี ถือว่าเป็นการวางรากฐานที่ดีให้ตั้งแต่เล็กๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมครบทั้ง 4 ด้าน   แต่ปัจจุบันพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นที่น่าวิตกมาก เมื่อพบว่าโดยภาพรวมแล้วเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปโดยที่พ่อแม่ ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นจึงหาของเล่นสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด โดยไม่คำนึงว่าของเล่นนั้นๆ สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับเด็กปฐมวัย การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะการเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้น พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดู ต้องเข้าใจและสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย เช่น กระดานลื่นยีราฟคอยาวช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก้าวไปอย่างมีคุณภาพซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในอนาคต   ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเล็งเห็นความสำคัญพัฒนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการที่สำคัญอันดับแรก คือ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จำเป็นจะต้องมีสื่อต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนาม สื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนนอกห้องเรียน เป็นต้น ในปีการศึกษาที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกองอิฐ มีเด็กทั้งหมด 69 คน มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 71.01 และมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 28.98 ซึ่งมีแนวโน้มที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและพัฒนาการไม่สมตามวัยในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และรวมถึงทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสื่อและเครื่องเล่นต่างๆไม่เพียงพอ และไม่หลากหลายต่อการใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กเล็กๆอีกด้วย ดังนั้น จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยครบทั้ง 4 ด้าน โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้สื่อและเครื่องเล่นที่หลากหลาย ได้มีเครื่องเล่นเพื่อใช้ในการเล่นออกกำลังกายฝึการเคลื่อนไหว พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แขน ขา ให้แข็งแรง ฝึกการทรงตัว ฝึกความกล้าหาญ และการตัดสินใจฝึกทักษะการทำงานของร่างกาย และฝึกพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา การรับรู้ความคิดฝัน และเลียนแบบจากของจริง ทำให้เด็กรู้จักปรับสิ่งใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่คุ้นเคยหรือรู้จักแล้วคิดและเข้าใจตามธรรมชาติที่เป็นจริง ช่วยฝึกการรู้จักอยู่ร่วมกับเพื่อนๆใรสังคมได้อย่างถูกต้องและมีความสุขและให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กอย่างถูกวิธี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

เด็กร้อยละ 90 มีพัฒนาการเหมาะสมวัยตามวัย

90.00
2 เพื่อเป็นนันทนาการ และออกกำลังกายเพิ่มพลังสมองของเด็กปฐมวัยช่วง 2-6 ปี

เด็ก ร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจต่อกิจกรรมนันทนาการและการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

90.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 95 ของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี

95.00
4 เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามีจำนวนที่น้อยลง

เด็กจำนวน 20 คน ที่มีพัฒนาการล่าช้า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ 3.ประชุมเตรียมงานและปฏิบัติงาน 4.ดำเนินการตามโครงการ   4.1 เตรียมพื้นที่สำหรับวางเครื่องเล่นสนามและจัดซื้อสื่อและเครื่องเล่นต่างๆ   4.2 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กเล็กเกี่ยวกับการเล่นเครื่องเล่นสนาม เพื่อเสริมพัฒนาการอย่างถูกวิธี ครูสาธิตวิธีการเล่นเบื้องต้นให้เด็กได้ดูประกอบการให้ความรู้โดยขออาสาสมัครเด็กมาสาธิตการเล่น   4.3 จัดกิจกรรมให้เด็กเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี     - ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน โดยหมุนเวียนสลับกันไปครูจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย และประเมินผลพัฒนาการตามความเป็นจริงในแบบประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยบันทึกก่อนส่งเสริมพัฒนาการและบันทึกหลังส่งเสริมพัฒนาการเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้น     - ประเมินพัฒนาการเด็กแต่ละชั้นปี ทุกๆ 3 เดือน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง   4.4 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี   4.5 จัดกิจกรรมกอด เล่น เล่า ผ่านหนังสือนิทานเล่มใหญ่ และหนังสือนิทานเล่มเล็กโดยให้เด็กกลับไปอ่านที่บ้านโดยมีผู้ปกครองคอยเล่าให้ฟัง   4.6 แบบสอบถามการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนที่มีพัฒนาการล่าช้า ตลอดระยะเวลา 3 เดือน จากผู้ปกครอง   4.7 แบบประเมินพัฒนาการล่าช้าทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เครื่องมือ DSPM ของนักเรียนจำนวน 20 คน 5.ประเมินผลการดำเนินการโครงการ/สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กเล็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาทั้ง 4 ด้าน ดีขึ้น 2.เด็กมีอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเหมาะสมตามวัย มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง 3.เด็กมีความสุขได้รับการเพิ่มพลังสมองจากการเคลื่อนไหวผ่านการเล่นจากเครื่องเล่นสนาม 4.ผู้ปกครองได้รับความรู้ที่ถูกต้องเพื่อนำไปดูแลเด็กได้ในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2566 16:26 น.