กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโรค ปลอดขยะ หมู่ที่ 6
รหัสโครงการ 66-L8402-2-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 6 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเรียง แก้วบุญช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 258 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชนจากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคน ในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้   จังหวัดสงขลาได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “สงขลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 - 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยให้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ว่า “ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 โดยให้จังหวัดส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียกให้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดแยกครัวเรือนลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่นๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยก ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก     หมู่ที่ 6 บ้านกองอิฐ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านต้นแบบปลอดโรค ปลอดขยะ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะเปียกครัวเรือน เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะต้นทางและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะเปียกครัวเรือน

ประชาชนมีความรู้และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน

80.00
2 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ปริมาณขยะเปียกในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 50 ของปริมาณทั้งหมดก่อนดำเนินโครงการฯ

50.00
3 เพื่อส่งเสริมความรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะต้นทาง ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

80.00
4 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะต้นทางและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง

ครัวเรือนที่มีพื้นที่สามารถดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกได้อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการฯ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้   2. ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการฯ   3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ พร้อมสำรวจข้อมูลความพร้อมในการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน   4. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน พร้อมมอบถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกลดโลกร้อนแก่ครัวเรือนต้นแบบ   5. ดำเนินการให้ครัวเรือนต้นแบบจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียก พร้อมทั้งขยายผลสู่ครัวเรือนใกล้เคียง   6. หากครัวเรือนใดไม่มีพื้นที่หรือพื้นที่ไม่เหมาะสมในการจัดทำถังขยะเปียก ให้แนะนำวิธีการจัดการที่เหมาะสม   7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนฯทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน   2. ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง   3. ประชาชนมีความรู้และเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง   4. เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2566 14:04 น.