กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดโฟม
รหัสโครงการ 66-L5227-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2566 18 ก.ย. 2566 9,840.00
รวมงบประมาณ 9,840.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โฟมมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โฟม 1 ชิ้น ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้เกิดโลกร้อน และการใชถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้โฟมและถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี (กระทรวงพลังงาน : 2559) จากข้อเท็จจริง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ รับผิดชอบพื้นที่ 2 ชุมชนคือ ชุมชนพังหลำพัฒนาและชุมชนบ่อโพธิ์พัฒนา เป็นชุมชนที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีการใช้ภาชนะพลาสติกในการห่อหรือบรรจุอาหารและทิ้งอย่างไม่เป็นที่เป็นทาง ทำให้เกิดเป็นปัญหาขยะของบ้านเรือนทำให้ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล การจัดเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกต้อง กลายเป็นที่ขังของน้ำ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จากสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2555 – 2560 มีจำนวน 15 และ 46 รายตามลำดับ และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ค่า HI = 13.5 และเป็นที่พักอาศัยของสัตว์มีพิษ สัตว์นำโรคร้ายหลายชนิด เช่น หนู งู แมลงวัน เป็นต้น จากผลกระทบดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ ,อสม.และแกนนำทั้ง 2 ชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งที่บ้านและชุมชน โดยให้ประชาชนร่วมกันลด ละ เลิกการใช้โฟมและถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร การจัดเก็บและกำจัดขยะให้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของโฟม และถุงพลาสติกนำไปสู่การใช้ถุงผ้าแทนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ประชาชน ลด ละ เลิกใช้โฟมและถุงพลาสติก เนื่องจากเห็นพิษภัยของการใช้โฟมและพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้าแทน พร้อมทั้งมีการจัดที่อาศัย การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดีและนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดการเกิดโรคต่างๆ ร้อยละ 30

50.00 50.00
2 ชุมชนมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนต้นแบบในการใช้ถุงผ้าแทนโฟมและถุงพลาสติกมีการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมและถุงพลาสติก

เกิดชุมชนต้นแบบในการใช้ถุงผ้าแทนโฟมและถุงพลาสติก 1 ชุมชน

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,840.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 0 9,840.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีการลด ละ เลิกการใช้โฟมและถุงพลาสติกบรรจุอาหาร หันมาใช้ถุงผ้าแทน
  2. ชุมชนสะอาด ปราศจากขยะนำโรค
  3. ประชาชนได้รับความรู้และมีจิตสำนึกในการลด ละ เลิกใช้โฟมและถุงพลาสติกในการบรรจุอาหารและมีการกำจัดขยะ การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย อันจะนำไปสู่การลดการของโรคติดต่อร้ายแรงยั่งยืนต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2566 15:42 น.